SMART NEWS

กองทัพบกแจ้งเคลื่อนย้าย ยุทโธปกรณ์เข้า กทม. 10 ม.ค. 68 14:01 น.

กิจกรรม

สทน.สตาร์ทเครื่อง พร้อมยกระดับการจัดการแมลงวันทองด้วยแมลงเป็นหมัน ด้วยตรอกนองโมเดลนำบทเรียนจากจากจันทบุรีขยายสู่ทั่วประเทศ หวังเพิ่มรายได้จากผลไม้ส่งออกของไทย

views

15 สิงหาคม 2561 – สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือสทน.
เปิดตัวโครงการยุทธการปราบแมลงวันทองด้วยตรอกนองโมเดล ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม โรงแรมเซนทารา
แอท เซนทรัลลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร โดยมีนายสุวิทย์ เมษินทรีย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธาน
นำต้นแบบความสำเร็จการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ทำหมันแมลงวันผลไม้จากตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง
จังหวัดจันทบุรี ขยายพื้นที่เป้าหมายต่อยอดไปทั่วประเทศเพื่อเพิ่มผลิตพืชและผลไม้ส่งออกสำคัญของประเทศ
แต่ลดการใช้สารเคมีและแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างอย่างมีประสิทธิภาพ
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ กล่าวว่า ปี 2560 ประเทศไทยมีรายได้จากการส่งออกผลไม้มากกว่า
40,000ล้านบาท แต่ทว่าเกษตรกรยังต้องเผชิญกับปัญหาสำคัญ คือ การจัดการศัตรูพืชที่มารบกวนผลผลิต
ซึ่งแมลงวันผลไม้จัดเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญนอกจากจะทำให้ผลไม้เน่าเสียแล้วยังมีผลต่อคุณภาพการส่งออก
ผลไม้หลายครั้งที่ผลผลิตถูกห้ามนำเข้าและต้องทำลายทิ้ง ด้านเกษตรกรมีวิธีการควบคุมกำจัดแมลงชนิดนี้หลายวิธี
ส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงวันผลไม้ซึ่งไม่ค่อยได้ผลมากนักเป็นอันตรายและทำให้ต้นทุนการผลิตสูง
เมื่อใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานจะส่งผลให้สารเคมีตกค้างซึ่งเป็นปัญหาทางตรงและทางอ้อมต่อ สุขอนามัยของเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมดังนั้นกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสทน. จึงได้ศึกษาวิจัยและดำเนินการนำวิธีการทำหมันแมลงมาใช้กับการควบคุมกำจัดแมลงวันผลไม้แบบพื้นที่กว้างโดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมัน โดยเริ่มต้นที่พื้นที่ปลูกผลไม้ของตำบลตรอกนอง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นแห่งแรกก่อนที่จะพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผสมผสานกับวิธีการอื่นจนประสบความสำเร็จ สามารถลดจำนวนประชากรแมลงศัตรูพืช ผลผลิตผลไม้จากตรอกนองมีคุณภาพปลอดภัยตามมาตรฐานการส่งออก ได้รับการยอมรับจากตลาดทั้งในและต่างประเทศสืบเนื่องการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ณ จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา
จึงมีมติให้สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)จัดทำโครงการการควบคุมแมลงวันผลไม้โดยเทคนิคการใช้แมลงที่เป็นหมันสำหรับพื้นที่ผลิตผลไม้ส่งออก
โดยให้ขยายพื้นที่การดำเนินงานให้ครอบคลุมทั่วประเทศสทน.จึงได้ดำเนินการโครงการดังกล่าว ภายใต้ชื่อ“ยุทธการปราบแมลงวันทองด้วยตรอกนองโมเดล”
โดยร่วมกับกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร ปฏิบัติงานใน 10 พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ จันทบุรี ระยอง ตราด ชุมพรนครศรีธรรมราช พิษณุโลก ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา ขอนแก่น และราชบุรี เริ่มจากปีงบประมาณ 2561-2570รวม ระยะเวลา 10 ปี ทั้งนี้ ดร.พรเทพ นิศามณีพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) ระบุว่าสทน.จะนำต้นแบบความสำเร็จจากตรอกนองโมเดล มาบูรณาการร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆรวมทั้งเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อสร้างเขตประชากรแมลงวันผลไม้ต่ำที่สามารถได้รับการรับรองพื้นที่โดยกรมวิชาการเกษตรสร้างระบบควบคุมกำจัดแมลงศัตรูทางกักกันพืชอื่นของผลไม้ และผลิตไม้ผลคุณภาพปลอดภัยตามมาตรการสุขอนามัยพืชและได้รับการรับรองโดยหน่วยงานทางกักกันพืช ให้สำเร็จทั้ง 10พื้นที่เป้าหมายและขยายผลไปทั่วประเทศต่อไป สำหรับกิจกรรมสำตัญในวันเปิดตัวตัวครั้งนี้ ได้แก่การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสทน. กรมวิชาการเกษตรกรมส่งเสริมการเกษตรในการปฏิบัติการด้านการจัดการแมลงวันผลไม้ ในพื้นที่เป้าหมายร่วมกัน การเสวนาเรื่องการจัดการแมลงวันผลไม้ และการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการในพื้นที่เป้าหมาย โดยนักวิชาการจากสทน.หน่วยงานร่วม และผู้แทนเกษตรกรในพื้นที่ มาแลกเปลี่ยนแนวคิดและข้อเสนอแนะต่างๆ
และนอกจากนี้ยังการจัดนิทรรศการของหน่วยงานและเกษตรกรชาวตำบลตรอกนอง จังหวัดจันทบุรีอีกด้วย
นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
(องค์การมหาชน) ในการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรของประเทศ สามารถแข่งขันในตลาดโลกเพิ่มรายได้ทางเศรษฐกิจและยังเพิ่มคุณภาพชีวิตและสุขอนามัยที่ดีของประชาชนควบคู่กัน.

TW-headbar