ซัมซุงเผยกำไรไตรมาส 4 ปี 2024 ต่ำกว่าคาด
10 มกราคม 2568 13:01 น.
กองทัพบกแจ้งเคลื่อนย้าย ยุทโธปกรณ์เข้า กทม. 10 ม.ค. 68 14:01 น.
10 มกราคม 2568 13:01 น.
10 มกราคม 2568 13:01 น.
10 มกราคม 2568 12:01 น.
10 มกราคม 2568 11:01 น.
โครงการเผยแพร่ข่าวสาร สทน. ผ่านสื่อออนไลน์ ปี 2561
เรื่อง จากแป้งมันสำปะหลัง สู่การเป็นพอลิเมอร์
ภัยแล้งในประเทศไทยทวีความรุนแรงมากขึ้นสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
(องค์การมหาชน)จึงคิดค้นนวัตกรรมพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูงมาช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง
โดยใช้กระบวนการทางรังสีเปลี่ยนแป้งมันสำปะหลังให้กลายเป็นพอลิเมอร์
เมื่อนำมาผสมกับดินจะช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้ดีช่วยลดปริมาณการใช้น้ำในการทำการเกษตรได้
พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูงนี้ผลิตจากแป้งมันสำปะหลังซี่งมีมากในประเทศไทยอยู่แล้ว จึงหาได้ง่าย
มีราคาถูก เหมาะที่จะนำมาผลิตเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติที่สำคัญย่อยสลายได้เอง
สิ่งเหล่านี้ทำให้มันสำปะหลังเป็นวัสดุที่มีศักยภาพสูงในการนำมาใช้ทดแทน
หรือลดต้นทุนในการผลิตพอลิเมอร์ได้ซึ่งคุณสมบัติของพอลิเมอร์
จากแป้งมันสำปะหลัง ดูดซึมน้ำได้มากขึ้น 200 เท่า เมื่อผสมกับดินจะเก็บรักษาความชื้นได้ดี
เหมาะอย่างยิ่งกับการเพาะปลูกในหน้าแล้งกระบวนการทางรังสี หรือ Radiation processing
ถูกนำมาใช้สังเคราะห์วัสดุต่างๆมากมาย เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ง่าย
ประหยัดพลังงาน สามารถทำปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิห้อง
อีกทั้งยังควบคุมได้ง่ายกว่าปฏิกิริยาทางเคมีไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของสารริเริ่มปฏิกิริยา
การใช้รังสีเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยากราฟต์พอลิเมอไรเซชั่นของพอลิอะคริลิคแอซิดบนสายโซ่
ของแป้งมันสำปะหลังทำให้แป้งมันสำปะหลังดูดซับและเก็บน้ำได้ปริมาณสูง
และสามารถให้น้ำแพร่ผ่านเนื้อเจลในลักษณะของไอน้ำ และความชื้น
โดยพอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูงจะทำหน้าที่เก็บกักน้ำไว้ให้พืช.