กองทัพบกแจ้งเคลื่อนย้าย ยุทโธปกรณ์เข้า กทม.
10 มกราคม 2568 14:01 น.
นายกรัฐมนตรีนั่งหัวโต๊ะประชุม ครม. ก่อนลงพื้นที่ จ.นครสวรรค์ 13 ม.ค. 68 09:01 น.
10 มกราคม 2568 14:01 น.
10 มกราคม 2568 13:01 น.
10 มกราคม 2568 13:01 น.
10 มกราคม 2568 12:01 น.
บทความออนไลน์ โครงการเผยแพร่ข่าวสาร สทน. ปี 2561
เรื่อง นิวเคลียร์ฟิวชันและพลาสมา เทรนด์เทคโนโลยีด้านพลังงานโลก
จากสถิติความต้องการใช้พลังงานของประเทศไทยโดยกระทรวงพลังงานพบว่า มีอัตราเพิ่มขึ้น 2.4% ตาม GDPหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศโดยเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภททั้งการใช้น้ำมัน ไฟฟ้านำเข้าพลังงานทดแทน ในปี 2560 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเข้าพลังงานคิดเป็นมูลค่ากว่า 8 แสนล้านบาท นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก ซึ่งพลังงานบางชนิดกำลังจะหมดลงในอีกไม่ช้าและราคาพลังงานส่วนใหญ่ก็เพิ่มสูงขึ้นเป้ฯอันมาก
ด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงมองหาแหล่งพลังงานชนิดใหม่เพื่อชดเชยแหล่งพลังงานเดิมและความต้องการใช้พลังงานที่เติบโตขึ้นทุกปีโดยแหล่งพลังงานชนิดใหม่ที่กำลังถูกจับตามองอยู่ในขณะนี้ก็คือปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันและพลาสมา ซึ่งเป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งมีความสะอาด ปลอดภัย ใช้ได้ระยะยาว ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่มีกัมมันตรังสี และกากกัมมันตรังสีไม่มีปัญหาเรื่องระเบิด เพราะไม่ใด้ใช้แร่ยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิงแต่ผลิตพลังงานด้วยปฏิกิริยาทางฟิสิกส์ของเชื้อเพลิงฟิวชันที่มีอยู่ในธรรมชาติลักษณะเดียวกับดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นต้นแบบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันขนาดยักษ์นั่นเอง และเมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานจากเชื้อเพลิงอื่นๆ เช่นแสงอาทิตย์ ลม น้ำมัน ก๊าซ ในน้ำหนักเชื้อเพลิงที่เท่ากัน พบว่า พลังงานฟิวชั่น จะให้พลังงานมากกว่าน้ำมันเชื้อเพลิงถึง 1 พันเท่า
จึงเป็นพลังงานที่คุ้มค่ามาก ๆ หากสามารถผลิตขึ้นใช้ได้จริงในอนาคต
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)จึงได้ร่วมมือกับ14 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ จัดตั้ง“ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาพลาสมาและพลังงานฟิวชันแห่งชาติ”โดยพลาสมาหรือก๊าซที่ร้อนจัดจะเป็นผลผลิตแรกและเป็นเทคโนโลยีนำร่องเพื่อเดินหน้าสู่กระบวนการฟิวชันและตั้งเป้าพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชันให้เป็นแหล่งพลังงานสะอาดเพื่ออนาคตโดยบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านพลังงานนิวเคลียร์ปี 2560-2569 ของคณะกรรมการพลังานนิวเคลียร์เพื่อสันติและแผนยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างองค์ความรู้และบุคลากรเตรียมความพร้อมรองรับเทคโนโลยีสำคัญของโลกในอนาคต
แผนพัฒนานิวเคลียร์ฟิวชันเป็นพลังงานทางเลือกนี้ เฟสแรกระยะเวลา5 ปี (2561-2565) งบประมาณ 120 ล้านบาทมุ่งด้านการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานทางวิศวกรรมรองรับเทคโนโลยีฟิวชันซึ่งรวมถึงบุคลากรเฉพาะทางและแผนที่จะใช้ประโยชน์เทคโนโลยีพลาสมาอย่างเป็นรูปธรรมไม่ว่าจะเป็น การนำไปเพิ่มศักยภาพทางการเกษตร ฆ่าเชื้อโรคหรือปรับโครงสร้างของพืชผักตลอดจนใช้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขอนามัยโดยใช้ในการบำบัดแผลติดเชื้อและแผลเรื้อรัง กระตุ้นการสร้างเส้นเลือดและเนื้อเยื่อใหม่รักษาผิวหน้า และการมีส่วนช่วยในเรื่องของการกำจัดขยะ
โครงการนิวเคลียร์ฟิวชันและพลาสมานับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสามารถผลักดันประเทศไทยให้นำไปสู่ความทันสมัยในด้านต่างๆอีกทั้งยังยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการในการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศถือเป็นส่วนหนึ่งของจุดเปลี่ยนที่จะพัฒนาประเทศให้ก้าวเข้าสู่ระดับความเป็นสากลได้อย่างยั่งยืนตลอดไป.