ซิดนีย์ปิดหาด 9 แห่งหลังพบก้อนกลมปริศนาเกลื่อนชายหาด
14 มกราคม 2568 13:01 น.
14 มกราคม 2568 13:01 น.
14 มกราคม 2568 11:01 น.
14 มกราคม 2568 11:01 น.
14 มกราคม 2568 10:01 น.
โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eye) และผลกระทบที่มีต่อเด็ก
โรคตาขี้เกียจ (Lazy Eye) คือ การที่เด็กมีความสามารถในการมองเห็นภาพลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการด้านการมองเห็นในช่วงวัยเด็ก
บ่อยครั้งพบว่า ตาขี้เกียจเกิดจากการที่เด็กมีปัญหาสายตาสั้น ยาว หรือเอียง แต่ไม่ได้รับการตรวจรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากไม่ทราบว่าตนเองมีความผิดปกติทางสายตา และเมื่อปล่อยไว้นานวันเข้าจะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางการมองเห็นได้ไม่เต็มที่ เพราะสมองไม่ได้รับการกระตุ้น ดังนั้น สมองจะสั่งการให้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจมองเห็นภาพที่ไม่ชัดเจนเช่นนั้นตลอดไป ซึ่งเด็กที่เป็นโรคตาขี้เกียจนี้จะไม่สามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจนเหมือนคนปกติ แม้ว่าจะได้รับการแก้ไขด้วยวิธีใดก็ตาม
โดยในโครงการ "Eye Saver" นายกฤติน วงศ์ทองศรี นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา ได้ออกแบบชุดทดสอบการมองเห็นเบื้องต้น เพื่อหวังส่งมอบให้โรงเรียนทั่วประเทศ ได้ใช้ตรวจวัดการมองเห็นให้กับเด็กในโรงเรียน การสุ่มทดลองกับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพบเด็กที่มีปัญหาตาขี้เกียจ (Lazy eye) มากกว่า 15% ซึ่งหากผู้ปกครองของเด็กๆเหล่านี้ได้ทราบก่อนว่าเด็กมีภาวะตาขี้เกียจ ก็สามารถพาไปรับการรักษาได้ทันเวลา เน้นตรวจสายตาให้กับเด็กเล็กอายุประมาณ 7-8 ขวบ (หรืออายุน้อยกว่านี้ได้ในกรณีที่เด็กสามารถอ่านตัวเลขได้ค่ะ)
ร่วมโหวตโครงการ Eye Saver ช่วยส่งเสริมศักยภาพเด็กไทย สร้างประโยชน์ให้กับสังคมกันค่ะ
Vote ได้ที่ https://www.entrepreneurship-campus.org/ideas/24/13825
ขอเพียงโรงเรียนที่สนใจติดต่อเข้ามา เรายินดีส่งชุดตรวจสอบสายตา พร้อมคู่มือการใช้ไปให้ได้ทันที ถ้าโรงเรียนใด อยากให้ทีมงานเข้าไปอบรมการตรวจวัดสายตา สามารถแจ้งความประสงค์ได้เลยนะคะ
ติดต่อ ดร.นิโลบล นาคะเลิศกวี โทร.081-614-6144