DSI แจ้งความดำเนินคดี เอกสายไหมต้องรอดและพวก
15 มกราคม 2568 11:01 น.
ฮ่องกงคุยกับไทยเรื่องช่วยคนฮ่องกงถูกล่อลวง 15 ม.ค. 68 16:01 น.
15 มกราคม 2568 11:01 น.
15 มกราคม 2568 10:01 น.
15 มกราคม 2568 09:01 น.
14 มกราคม 2568 14:01 น.
วันนี้ (23 ธันวาคม 2562) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น (SOE Award) ประจำปี 2562 ให้แก่ นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานกรรมการ พร้อมด้วย นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) โดยในปีนี้ ปตท. ได้รับทั้งสิ้น 8 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น รางวัลการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสดีเด่น รางวัลการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น รางวัลความคิดสร้างสรรค์ดีเด่น รางวัลนวัตกรรมดีเด่น รางวัลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาดีเด่น ด้านการยกระดับการบริหารจัดการองค์กร และรางวัลการพัฒนาสู่รัฐวิสาหกิจดิจิทัล ประเภทเชิดชูเกียรติ
นายชาญศิลป์ฯ เปิดเผยว่า หนึ่งในพันธกิจและความรับผิดชอบอันสำคัญยิ่งของ ปตท. คือ การมุ่งสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และสร้างสมดุลในการตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ “รางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น” นับเป็นรางวัลอันมีเกียรติและทรงคุณค่าแห่งปี ซึ่งมอบให้แก่องค์กรของรัฐที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆ เสมือนเป็นฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งรางวัลที่ ปตท. ได้รับในครั้งนี้ประกอบด้วยรางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น มอบให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของ ผู้ถือหุ้นภาครัฐ ในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ และส่งเสริมการบริหารงานของฝ่ายจัดการให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบายและทิศทางการดำเนินงาน มีบทบาทในการกำกับดูแลที่ดี (Good Corporate Governance) มีการกำหนดนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการติดตามการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
รางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่น มอบให้รัฐวิสาหกิจที่บริหารจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างสมดุลทั้งในฐานะรัฐวิสาหกิจที่ต้องดูแลประชาชน สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ประเทศอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันในฐานะบริษัทมหาชน สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก โดยที่ผ่านมา ปตท. มุ่งมั่นทุ่มเทให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความยั่งยืน 3 ด้าน (3P) อย่างสมดุล ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ชุมชน และสังคม (People) การอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Planet) และการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Prosperity)
รางวัลการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสดีเด่น มอบให้รัฐวิสาหกิจที่มีการบริหารจัดการที่โปร่งใสเป็นธรรม มีการรายงานและเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศที่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีในระดับสากล ซึ่ง ปตท. ได้รับต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 รางวัลการดำเนินงานเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมดีเด่น มอบให้รัฐวิสาหกิจที่มีการส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง และสร้างความตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และมีโครงการที่สะท้อนถึงผลลัพธ์ตามนโยบายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรอย่างแท้จริง ซึ่งครั้งนี้ ปตท.ได้รับรางวัลจาก “โครงการขยายผลการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก” (V-Strong Network) ซึ่งเป็นการส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ สร้างระบบป้องกันการกัดเซาะและดินถล่มเพื่อความปลอดภัยให้กับชุมชน รวมถึงสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากหญ้าแฝกให้กับชุมชนรางวัลความคิดสร้างสรรค์ดีเด่น มอบให้รัฐวิสาหกิจที่มีผลงานสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่สามารถใช้ประโยชน์ในกิจการได้จริง โดยปรับปรุงหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันขององค์กร โดยในครั้งนี้ ปตท. ได้รับรางวัลจาก “โครงการโลกเสมือนจริงสำหรับถ่ายทอดผลกระทบสิ่งแวดล้อมแบบพหุมิติ” (Virtual Reality for All Platform หรือ VR4ALL) ที่สามารถอธิบายปัญหามลพิษอากาศที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าและมีความซับซ้อน
รางวัลนวัตกรรมดีเด่น มอบให้รัฐวิสาหกิจที่มีการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างนวัตกรรม โดยเกิดความคิดใหม่จากการปรับปรุงหรือต่อยอด สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในที่สามารถใช้ประโยชน์ในกิจการได้จริง เพื่อให้เกิดผลเชิงบวกอย่างเป็นรูปธรรม โดยในครั้งนี้ ปตท. ได้รับรางวัลจาก “การพัฒนาระบบตรวจวัดแบบออนไลน์สำหรับงานตรวจสอบ และบำรุงรักษาท่อส่งก๊าซธรรมชาติ” (Integrated Pipeline Maintenance and Monitoring System หรือ iPMMS) ซึ่งถือเป็นการใช้งานเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ สำหรับการดูแลรักษาท่อส่งก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรกในโลกรวมไปถึงกระบวนการออกแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน จนนำไปสู่การจดอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์
รางวัลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาดีเด่น ด้านการยกระดับการบริหารจัดการองค์กร หรือ “โครงการพี่เลี้ยง” เป็นรางวัลคู่รัฐวิสาหกิจระหว่าง ปตท. ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุน แบ่งปัน เพื่อให้รัฐวิสาหกิจที่เป็นน้องเลี้ยง คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อร่วมมือยกระดับศักยภาพการบริหารจัดการองค์กรในด้านต่างๆ ให้เข้าสู่มาตรฐาน นำไปสู่การพัฒนารัฐวิสาหกิจไทยให้แข็งแรงและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
รางวัลการพัฒนาสู่รัฐวิสาหกิจดิจิทัล ประเภทเชิดชูเกียรติ เป็นรางวัลใหม่ที่มอบให้รัฐวิสาหกิจที่มีแผนงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆ โดยจัดสรรทรัพยากร การสื่อสาร และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลง ซึ่ง ปตท. ได้ดำเนินการจัดทำแผนกลยุทธ์ดิจิตอล หรือ PTT Digital Roadmap 5 ปี เพื่อมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจ อันจะนำมาสร้างธุรกิจใหม่ ภายใต้การคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน
“ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา ปตท. มุ่งสร้างความเข็มแข็งและพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ปรับตัวได้ทันกับความท้าทายต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผมขอขอบพระคุณผู้มีส่วนสนับสนุน ปตท. ทั้งหน่วยราชการ คู่ค้า พันธมิตร ลูกค้า และประชาชน ที่มีส่วนร่วมสนับสนุนในความสำเร็จครั้งนี้ นับเป็นความภาคภูมิใจขององค์กรที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นทุ่มเทของบุคลากร ปตท. ทุกคน โดย ปตท. พร้อมเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และขอยืนหยัดในการสร้างคุณค่าต่อสังคมไทย ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนอย่างสมดุล เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ตามความมุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรแห่งความภาคภูมิใจและสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยตลอดไป” นายชาญศิลป์กล่าว.