DSI แจ้งความดำเนินคดี เอกสายไหมต้องรอดและพวก
15 มกราคม 2568 11:01 น.
ฮ่องกงคุยกับไทยเรื่องช่วยคนฮ่องกงถูกล่อลวง 15 ม.ค. 68 16:01 น.
15 มกราคม 2568 11:01 น.
15 มกราคม 2568 10:01 น.
15 มกราคม 2568 09:01 น.
14 มกราคม 2568 14:01 น.
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 9 นับเป็นครั้งแรกในภาคใต้ ระหว่างวันที่ 6-9 มีนาคม 2563 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่เยาวชน เพื่อให้ความรู้ด้านจรวดได้เผยแพร่สู่สังคมให้เป็นประโยชน์ และเกิดการพัฒนากว้างขึ้น
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านจรวด และมีเป้าหมายในการส่งเสริมการพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่เยาวชน เพื่อให้ความรู้ด้านจรวดได้เผยแพร่สู่สังคมให้เป็นประโยชน์ และเกิดการพัฒนากว้างขึ้น จึงได้จัด “กิจกรรม ค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์” ซึ่งจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน
ในวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นประธานในพิธีเปิดค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 9 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด
กิจกรรม ค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ เปิดรับสมัครเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 – 6 สายวิทยาศาสตร์ จากหลากหลายสถานศึกษากว่าพันคนทั่วภาคใต้ และมีเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 52 คน เข้าร่วมกิจกรรมระหว่างวันที่ 6 – 9 มีนาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.)
การจัดอบรมความรู้เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ดินขับเชื้อเพลิงแข็งที่ใช้น้ำตาลเป็นเชื้อเพลิง มีระยะเวลาทั้งสิ้น 4 วัน 3 คืน โดยแบ่งกลุ่มเยาวชนออกเป็นทีมๆ ละ 4 คน จำนวน 13 ทีม หลังจากที่ได้อบรมความรู้ไปแล้ว สทป. ได้สนับสนุนวัสดุ และอุปกรณ์ให้นักเรียนได้ลงมือพัฒนาสร้างจรวดประดิษฐ์ และนำจรวดประดิษฐ์มายิงทดสอบขึ้นสู่ท้องฟ้า ในวันที่ 9 มีนาคม เพื่อแข่งขันชิงรางวัลต่างๆ ดังนี้
รางวัล Conceptual Design ออกแบบตามทฤษฏี ได้แก่ ทีม Missile มุ่ง พุ่งทะยานฟ้า ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ดุจดาว บูรณะพาณิชย์กิจ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) เป็นผู้มอบรางวัล สมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวพัชรมัย ไชยรัตน์ โรงเรียนธิดานุเคราะห์, นางสาวอชิรญา นพสุวรรณ์ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย, นางสาวธันยพร รัตนสุภา โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช และนายธนกฤต แซ่ลิ่ม โรงเรียนแสงทองวิทยา
รางวัล Conceptual Design ความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ทีม 2KBE ซึ่งได้รับเกียรติจาก พลอากาศตรี เจษฏา คีรีรัฐนิคม ผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดและอาวุธนำวิถี เป็นผู้มอบรางวัล สมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวพัชราภรณ์ ขุนพารเพิง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช, นางสาวเอี่ยมลออ จิโรจน์มนตรี โรงเรียนธิดานุเคราะห์, นายนันทนัท วรรณรัตน์ โรงเรียนแสงทองวิทยา และนายชนกันต์ ชัยสวัสดิ์ โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช
รางวัล Popular Vote ได้แก่ทีม master of wings กับผลงาน rocket to the moon, rocket to the sun ซึ่งได้รับเกียรติจาก พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นผู้มอบรางวัล สมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวอัญพร ชัยสุระ โรงเรียนตากใบ, นางสาวปริชญา ภูยุทธานนท์ โรงเรียนสาธิต มอ.ปัตตานี, นายกฤตภาส ทองโชติ มอ.วิทยานุสรณ์สุราษฎร์ธานี, ด.ช.อัครพงษ์ สุขแก้ว มอ. วิทยานุสรณ์หาดใหญ่
รางวัลชนะเลิศการแข่งขันจรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 9 ทีมชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีมจ๊าบจิงดิงโจ้ ด้วยคะแนน 73.48 สมาชิกในทีมประกอบด้วย นายยศภัทร จินดาวงค์ โรงเรียนแสงทองวิทยา, นายณัฐวุฒิ เบ็ศขุนทศ โรงเรียนหาดใหญ่วิยาลัย, นางสาวภัณฑิรา เเนวบรรทัด สาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, นายฐณภัทร ลี้เกษร โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์สุราษฎร์ธานี และทีมชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม FJPP ด้วยคะแนน 70.36 สมาชิกในทีมประกอบด้วยนายณัฐดนัย สุขเกษม โรงเรียน มอ. วิทยานุสร,นายภูริณัฐ แก้วรัตน์ โรงเรียนแสงทองวิทยา, นายณภัทร บรมพิบาล โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม และทีมชนะเลิศอันดับ 3 ได้แก่ ทีม master of wings ด้วยคะแนน 69.82 สมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวอัญพร ชัยสุระ โรงเรียนตากใบ, นางสาวปริชญา ภูยุทธานนท์ โรงเรียนสาธิต มอ.ปัตตานี,นายกฤตภาส ทองโชติ มอ.วิทยานุสรณ์สุราษฎร์ธานี, ด.ช.อัครพงษ์ สุขแก้ว มอ. วิทยานุสรณ์หาดใหญ่
พิธีปิดและวันสุดท้ายของค่ายในวันที่ 9 มีนาคม 2563 นางอริศรา เพ็ญกิตติ ผอ.ส่วนกิจการพิเศษ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กล่าวว่าในนามของคณะทำงานจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 9 ประจำปี 2563 ต้องขอขอบคุณผู้บริหารทั้งสองฝ่ายที่เห็นถึงความสำคัญในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 9 ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจรวด เสริมสร้างความสนใจในการวิจัยค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีรุ่นใหม่สู่สังคม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า สทป. และ มอ. ได้มีความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน โดย มอ. ได้รับมอบหมายให้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมโครงการค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ประจำปี 2563 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 9 ณ เขตพื้นที่ภาคใต้ การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ สทป. สนับสนุนความรู้ด้านการประดิษฐ์จรวดเชื้อเพลิงน้ำตาล ให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัย และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งอุปกรณ์ในการประดิษฐ์จรวดทั้งหมด ในส่วนของมหาวิทยาลัยได้ให้การสนับสนุนด้านบุคลากร และสถานที่ในการจัดกิจกรรม โดยมุ่งหวังที่จะสร้างเสริมความรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทางด้านจรวดให้กับเยาวชน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีจรวด ส่งเสริมให้เป็นนักประดิษฐ์คิดค้นสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม สร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับเยาวชนและประเทศ ให้มีโอกาสได้เสริมสร้างความรู้ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี เพื่อนำไปพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไปในอนาคต
พลอากาศตรี เจษฎา คีรีรัฐนิคม ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดของประเทศไทย กล่าวสรุป ผลการยิงทดสอบจรวดประดิษฐ์ ด้วยการประลองประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการทำงานของทุกทีมประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เชื่อมั่นว่ากิจกรรมค่ายจรวด ในปีนี้ ที่ สทป. ตั้งใจจัดให้แก่เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จะสามารถสร้างเสริมประสบการณ์ สร้างศักยภาพใหม่ให้แก่เยาวชน ให้เป็นเยาวชนที่มีความสามารถ และมีคุณค่าต่อประเทศ
พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ประธานในพิธีปิดกล่าวให้โอวาทแก่ เยาวชนที่ผ่านการเข้าค่ายทุกคน “กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ถือเป็นหนึ่งในโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม ที่ สทป. ได้ให้ความสำคัญในการสร้างประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ผ่านการส่งเสริมศักยภาพความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชน เป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศอีกทางหนึ่ง เพื่อเสริมสร้างบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ นักวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีรุ่นใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพสู่สังคมไทยเพิ่มขึ้น เป็นส่วนหนึ่งที่กิจกรรมค่ายวิทย์จรวดประดิษฐ์มุ่งหวัง และเป็นการตอกย้ำบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมของ สทป. ในฐานะองค์กรที่ดำเนินงานพร้อมกับการเผยแพร่ และพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่สังคม ด้วยบุคลากรของ สทป. ที่สั่งสมองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญของจากโครงการวิจัยพัฒนาจรวดหลายลำกล้องให้แก่เหล่าทัพ” จากนั้น จุดจรวดเพื่อปิดพิธี ด้วยความประทับใจเป็นอันเสร็จสิ้นกิจกรรมค่ายวิทย์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 9 ลงด้วยดีตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ.