นายกรัฐมนตรีเตรียมลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้พรุ่งนี้
15 มกราคม 2568 10:01 น.
DSI แจ้งความดำเนินคดี เอกสายไหมต้องรอดและพวก 15 ม.ค. 68 11:01 น.
15 มกราคม 2568 10:01 น.
15 มกราคม 2568 09:01 น.
14 มกราคม 2568 14:01 น.
14 มกราคม 2568 13:01 น.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จับมือ กรมส่งเสริมสหกรณ์ (กสส.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB และ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) จัดการอบรมออนไลน์เชิงปฎิบัติการ “พลิกสหกรณ์ไทยสู่สหกรณ์ 4.0” เสริมสร้างพัฒนาศักยภาพสหกรณ์ไทยที่เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก (Local Economy) ได้แก่ ภาคการเกษตร การผลิต และการบริการ ทั่วประเทศ นำไปสู่การต่อยอดผลิตภัณฑ์และโมเดลธุรกิจที่พร้อมเข้าสู่การแข่งขันในยุคดิจิทัลที่มาเร็วและแรง ที่เกิดขึ้นในภาวะวิกฤตโควิด 19 ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สหกรณ์มีความเข้มแข็ง และปรับตัวเร็วให้ทันต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุควิถีชีวิตใหม่ (New Normal)
นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของความร่วมมือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากยุค 4.0 เพื่อขับเคลื่อนปฎิบัติการ “พลิกโฉมสหกรณ์ไทยสู่ยุค 4.0” มุ่งสร้างการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงยุคเทคโนโลยีดิจิทัล แก่สหกรณ์และสมาชิก สหกรณ์ไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถ สร้างเสริมศักยภาพ สู่กระบวนการต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการของสหกรณ์ และแนวทางโมเดลทางธุรกิจใหม่สู่ยุค 4.0 ที่สามารถแข่งขันได้ในยุคปัจจุบันที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยได้รวมกระบวนการเรียนรู้ด้วยระบบออนไลน์ การศึกษาดูงาน บรรยายหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกิจการที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจใหม่ รวมถึงเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาเครือข่ายระหว่างสหกรณ์และภาคีที่เกี่ยวข้อง สหกรณ์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดจะได้รับการคัดเลือกเข้าสู่กระบวนการพัฒนาเชิงลึกเพื่อพัฒนาองค์กรเฉพาะด้านต่อไป
โดยในเฟสแรกนี้ กิจกรรมเรียนรู้ด้วยระบบออนไลน์ได้รับผลตอบรับดีมาก มีสหกรณ์กว่า 200 แห่ง รวมถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหลายรายตื่นตัวสมัครเข้าร่วมเรียนรู้ ผ่านแพลทฟอร์มโซเชียลมีเดีย (เฟสบุ๊ค ไลฟ์) ทางเพจโครงการ coop 4.0 มียอดวิวเข้าชมการอบรมมากกว่า 10,000 วิว ผ่านการถ่ายทอดจาก 6 วิทยากรระดับแนวหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ยุค 4.0 นำโดย อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย กูรูด้านการตลาดชื่อดัง, ผศ.ธเนศ ศิริกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการธุรกิจ, นายสุวิทย์ เอื้อศักดิ์ชัย (อ.แมท) ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาด้านการสร้างแบรนด์, ดร.อภิวัฒน์ จ่าตา (ทิดเป้) พิธีกรด้านการเกษตรชื่อดังดีกรี ด็อกเตอร์, นายอรุษ นวราช เจ้าของสวนสามพรานโมเดล และ ผศ.ดร.อัจฉรา เกษสุวรรณ อาจารย์สายพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรและการตลาดเกษตร สำหรับสมาชิกสหกรณ์ได้เข้ารับการอบรมเรียนรู้ตามที่ได้กำหนด ครบตามเงื่อนไขจะมีสิทธิรับการคัดเลือกเพื่อรับรางวัล SMART COOP 4.0 อันเป็นรางวัลเพื่อความภูมิใจ ของสหกรณ์คุณภาพที่เข้าร่วมโครงการกับ สสว.
แหล่งข่าวจาก กรมส่งเสริมสหกรณ์ (กสส.) ซึ่งเป็นภาคีหน่วยร่วมดำเนินงานเห็นว่า โครงการฯ นี้ มีประโยชน์ต่อการสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างมาก ในยุคที่สหกรณ์การเกษตรทั้งหลายต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อให้สหกรณ์ซึ่งเป็นองค์กรทางธุรกิจของสมาชิกปรับตัวได้ในยุค 4.0 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ สสว. มีทีมที่ปรึกษาลงพื้นที่เข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่สหกรณ์ ในด้านการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการของสหกรณ์ โดยมีการจัดทำแผนพัฒนาตามเป้าหมายของสหกรณ์ทั้งในด้านการบริหารจัดการองค์กร การพัฒนาและการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการ การเพิ่มประสิทธิภาพและการลดต้นทุน แนวคิดการสร้างโมเดลธุรกิจยุคใหม่เพื่อสหกรณ์ไทยสู่ 4.0 การตลาดดิจิทัล โมเดลการสร้างเครือข่ายสหกรณ์สู่ความยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมให้สหกรณ์ที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการให้ความช่วยเหลือต่อยอดธุรกิจร่วมกันกับสหกรณ์อื่น ๆ ที่อยู่ในจังหวัดเดียวกันเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง ส่งผลให้สหกรณ์การเกษตรเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนอย่างแท้จริง
ด้าน นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB กล่าวว่า ทีเส็บมีพันธกิจหลักในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมในภาคบริการด้านธุรกิจที่สำคัญซึ่งช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและกระจายรายได้สู่ชุมชนทั่วประเทศ ในส่วนความร่วมมือโครงการนี้ ทีเส็บจะช่วยวิเคราะห์ความต้องการของตลาด จุดเด่นจุดด้อยของสหกรณ์ โดยจะมุ่งเน้นกลุ่มสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจภาคการผลิต การค้า บริการ และภาคธุรกิจการเกษตร ตลอดจนช่วยพัฒนาในด้านที่สามารถเชื่อมโยงให้สหกรณ์นำศักยภาพที่มีในชุมชนเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นสหกรณ์ที่สามารถรองรับธุรกิจไมซ์ นักเดินทางไมซ์ การจัดงาน จัดประชุมและการท่องเที่ยวในท้องถิ่นอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต.