SMART NEWS

ยอดดอยอินทนนท์ยังหนาวต่อเนื่อง 25 ธ.ค. 67 11:12 น.

ข่าวประชาสัมพันธ์

วัฒนธรรมและประเพณีโบราณของภาคใต้

views

     ประเทศไทยเรานั้นเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียและเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมากโดยประเทศไทยเรานั้นจะแบ่งการอยู่อาศัยเป็นภาค โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ภาคได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ซึ่งแต่ละภาคนั้นจะมีวัฒนธรรม ประเพณี และขนมธรมมเนียมต่าง ๆ ที่แตกต่างกันนอกจากนั้นแล้วในภาคต่าง ๆ หรือจังหวัดต่าง ๆ ก็จะมี ของพรีเมี่ยม ประจำจังหวัดที่แตกต่างกันอีกด้วยวันนี้เราจะมาพูดถึงประเพณีและวัฒนธรรมทางภาคใต้กันค่ะว่ามีประเพณีที่น่าสนใจอะไรบ้าง

     อันดับแรกภาคใต้จะมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครในเรื่องของภาษาค่ะทุกคนคงอาจจะพอทราบมาบ้างแล้วว่าภาษาทางภาคใต้นั้นมีความแตกต่างจากทางภาคกลางอย่างมากมีการเรียบเรียงคำพูดที่แตกต่างกันรวมถึงการพูดที่ค่อนข้างเร็วทำให้คนภาคกลางส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจภาษาใต้สักเท่าไหร่ เช่นคำว่า แต่ว่าถ้าเป็นคนภาคกลางจะใช้พูดขึ้นต้นก่อนจะพูดประโยคที่ขัดแย้งออกมา เช่น สวยนะแต่ว่าแพง แต่หากเป็นทางภาคใต้ คำว่าแต่ว่าจะถูกใช้ปิดท้ายประโยคเหล่านั้น เช่นข้อสอบยังเขียนไม่เสร็จ ส่งไปแล้วแต่ว่า เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีการใช้คำศัพท์ต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย เช่น คำว่าพริก ภาษากลาง ภาษาใต้จะใช้คำว่า ดีปลีเป็นต้น

jAbCVD.jpg

     นอกจากเรื่องภาษาที่เป็นเอกลักษณ์อันงดงามแล้วประเพณีของภาคใต้นั้นก็มีความแตกต่างจากภาคอื่น ๆ เช่นกันค่ะ ประเพณที่โด่งดังมาก ๆ หลายประเพณีของภาคใต้ได้แก่

1. ประเพณี สารทเดือนสิบ
เป็นประเพณีที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับชาวนครศรีธรรมราชเป็นการนำขนมต่าง ๆ ไปทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วโดยขนมที่นิยมนำมาใช้ในประเพณีนี้ได้แก่ ขนมลา ขนมพอง ขนมกง ขนมบ้าขนมดีซำ เป็นต้น โดยประเพณีนี้จะเชื่อมโยงไปถึงอีกประเพณีหนึ่งที่เรียกว่าพิธีชิงเปรตเพราะเมื่อเสร็จการถวายขนมต่าง ๆ ให้บรรพบุรุษแล้วชาวบ้านจะนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปตั้งไว้บริเวณข้างกำแพงวัด เรียกว่าการตั้งเปรตเพื่อแผ่ส่วนบุญให้กับผีไม่มีญาติหรือบรรพบุรุษที่ไม่มีลูกหลานมาถวายของให้นั่นเอง

2. ประเพณีชิงเปรต เป็นประเพณที่ทำต่อเนื่องจากประเพณีวันสารทเดือนสิบ
โดยจะเป็นการจัดทำร้านเปรตขึ้นมา โดยร้านเปรตนั้นจะมีลักษณะเป็นเสาสูง ๆและมีที่สำหรับวางของไหว้อยู่ด้านบน โดยทำเป็นเสา 4 ต้นบ้างหรือเสาต้นเดียวบ้างแล้วแต่พื้นที่โดยด้านบนนั้นจะผูกสายสินและลากยาวไปถึงที่ทำพิธีของพระสงฆ์เมื่อเสร็จสิ้นการทำพิธีแล้ว ชาวบ้านก็จะพากันไปแย่งชิงอาหารที่อยู่ด้านบนเป็นอันเสร็จสิ้นพิธี3.ประเพณีลากพระ(ชักพระ) เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในช่วงวันออกพรรษาเป็นการทำที่ลากโดยอาจจะมีการตกแต่งด้วยเทียนที่แกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ หรือตกแต่งด้วยดอกไม้ก็ได้เช่นกัน โดยจะอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นไปอยู่บนที่ลากแล้วทำการลากไปวัด ระหว่างการลากนั้นก็จะมีการใช้ฆ้องตีเพื่อทำจังหวะมีการร้องเพลงของทางใต้ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสนุกสนานนั่นเอง

4. ประเพณี อาบน้ำคนแก่ เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน
ซึ่งมักจะนิยมจัดขึ้นที่บ้าน เป็นการรวมตัวกันของญาติ และผู้ใหญ่ที่เคารพรักโดยเป็นการนั่งรวมตัวกันก่อนที่จะมีการกล่าวขอขมาต่าง ๆโดยวิธีการคือการน้ำดอกไม้ผสมลงไปในน้ำ และนำน้ำมาอาบให้กับผู้ใหญ่ก่อนจะขอพรต่าง ๆ เมื่อผลัดกันอาบน้ำให้เสร็จก็จะนำเสื้อผ้ามาให้เปลี่ยนก่อนจะทำการทาแป้งหวีผมให้ จึงเป็นอันเสร็จพิธีโดยการอาบน้ำคนแก่นี้เชื้อว่าเป็นการแสดงความเคารพต่อญาติผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ และยังเป็นการรวมตัวกันเพื่อสร้างความผูกพันธ์ในครอบครัวอีกด้วย

f94c3dba5db62984c9e3b1eb9d8b1f55.jpg

     นอกจากประเพณีต่าง ๆ แล้ว ภาคใต้เองนั้นยังมีวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย ที่โดดเด่นมาก ๆ ก็คงหนีไม่พ้นวัฒนธรรมการแสดงต่าง ๆ ของทางภาคใต้ที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ได้แก่ มโนราห์ หนังตะลุง เป็นต้น ซึ่งวัฒนธรรมเหล่านี้ปัจจุบันเริ่มหาดูยากมากขึ้น โดยเฉพาะการแสดงมโนราห์อาจจะเป็นเพราะการแสดงเหล่านี้ไม่ค่อยมีคนนิยมมากเท่าไหร่ทำให้ศิลปะเหล่านี้จึงเริ่มสูญหายไป ทั้ง ๆ ที่ศิลปะการแสดงต่าง ๆเหล่านี้มีความสวยงามและน่าสนใจอย่างมากเด็กยุคใหม่ในปัจจุบันไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ดูการแสดงเหล่านี้เลยก็มี ทาง www.โรงงานของพรีเมี่ยม.com อยากให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมอันดีงามเหล่านี้และช่วยกันอนุรักษ์และสืบต่อไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปในอนาคต.

TW-headbar