SMART NEWS

นายกรัฐมนตรีนั่งหัวโต๊ะประชุม ครม. ก่อนลงพื้นที่ จ.นครสวรรค์ 13 ม.ค. 68 09:01 น.

กิจกรรม

รี้ด เทรดเด็กซ์ เผยงานวิจัยความเห็นลูกค้ายุคโควิด พลิกมุมมองการจัดงานแสดง

views

รี้ด เทรดเด็กซ์ เผยผลงานวิจัยมุมมองผลกระทบโควิด ความเห็นเกี่ยวกับงานแสดงสินค้ายุค
Social Distancing พร้อมปรับกลยุทธ์ เร่งขยายบทบาทจาก Exhibition Organizer เป็น Community Connector เชื่อมต่อลูกค้ากับโอกาสทางธุรกิจทั่วโลกทั้งในงานแสดงสินค้าแบบ Physical และออนไลน์


คุณ วราภรณ์ ธรรมจรีย์ กรรมการผู้จัดการ รี้ด เทรดเด็กซ์ เผยถึง ผลงานวิจัยซึ่งได้ร่วมมือกับหน่วยงาน Customer Insights ของบริษัทแม่ รี้ด เอ็กซ์ฮิบิชั่นส์ (Reed Exhibitions) สำนักงานใหญ่ในอังกฤษ ในงานวิจัย COVID Customer Mindset and Needs Barometer ซึ่งเป็นงานวิจัยครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การทำวิจัยของ รี้ด เอ็กซ์ฮิบิชั่นส์ โดยสำรวจผลกระทบของการแพร่ระบาด จากมุมมองส่วนตัวและธุรกิจ รวมถึงมุมมองเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าจากงานแสดงสินค้า ด้วยการศึกษาความเห็นของผู้ชมงานจำนวนกว่า 41,609 รายจากงานแสดงสินค้าทั่วโลกจำนวน 201 งาน ซึ่งรวมถึงผู้ชมงานจากงานในประเทศไทยจำนวน 1,717 รายจาก 9 งาน ผ่านวิธีการสำรวจออนไลน์เป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2563 แบ่งเป็นหกช่วง เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงในแนวคิดของลูกค้าเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป

     มาตรวัดของงานวิจัยมีทั้งสิ้น 4 ปัจจัย ได้แก่ หนึ่ง ความรู้สึกส่วนตัวที่มีด้านการเงิน เศรษฐกิจ และธุรกิจ, สอง สิ่งท้าทายธุรกิจและทิศทางของอุตสาหกรรม, สาม ความรู้สึกเกี่ยวกับงานแสดงสินค้า ความสำคัญและความมั่นใจในการร่วมงาน และสี่ สิ่งที่ต้องการจากงานแสดงสินค้า

โควิดทำให้คนกังวลเรื่องการเดินทางมากที่สุด
งานวิจัยดังกล่าวสำรวจความกังวลของผู้ร่วมงานชาวไทย พบว่า ร้อยละ 52 มีความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางต่างประเทศในระยะไกล ร้อยละ 46 กังวลด้านการเดินทางไปต่างประเทศในระยะใกล้ ร้อยละ 39 กังวลด้านการร่วมงานกับคนหมู่มากภายในอาคาร และร้อยละ 26 กังวลด้านการร่วมงานกับคนหมู่มากภายนอกอาคาร คนจำนวนน้อยกังวลด้านการเดินทางภายในประเทศ

ผลกระทบต่อธุรกิจเบาขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
คนไทยส่วนใหญ่ที่ร่วมการสำรวจให้ข้อมูลว่า ผลกระทบที่โควิดมีต่อธุรกิจตนนั้นอยู่ในระดับปานกลาง ตามมาด้วยผลกระทบในระดับต่ำและระดับสูงตามลำดับ โดยเมื่อเวลาผ่านไป จำนวนผู้ที่ให้ข้อมูลว่าผลกระทบอยู่ในระดับปานกลางมีจำนวนลดลง และผู้ที่ได้รับผลกระทบในระดับต่ำเพิ่มสูงขึ้น

     ผลกระทบดังกล่าวเกิดจากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่สร้างผลกระทบต่อธุรกิจมากที่สุดคือยอดขายที่ลดลง
ตามด้วยข้อจำกัดในการเดินทางพบลูกค้าและซัพพลายเออร์ การลดค่าใช้จ่ายเนื่องจากความไม่แน่นอน ซัพพลายเชนสะดุด และความยากลำบากในการส่งออก

มุมมองเศรษฐกิจเป็นบวกมากขึ้น
เมื่อขอให้ให้คะแนนทิศทางความเป็นบวกหรือลบของเศรษฐกิจในระดับ 1 ถึง 10 ผู้ร่วมวิจัยส่วนใหญ่ให้คะแนนไปในทิศทางลบในระดับปานกลาง (4) ซึ่งเปลี่ยนแปลงสูงต่ำตามสถานการณ์ในแต่ละเดือนของการสำรวจ แต่ในเดือนธันวาคม 2563 ผู้ที่ให้คะแนนทิศทางเศรษฐกิจในทิศทางบวกในระดับ 7 มีจำนวนสูงขึ้นจากเมื่อเริ่มต้นงานวิจัยที่ร้อยละ 8 เพิ่มเป็นร้อยละ 17 เมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา

คนคิดถึงการได้ทำงานร่วมกันแบบ Face to Face
ร้อยละ 80 ของคนไทยที่ร่วมงานวิจัยเมื่อเดือนธันวาคมว่า อยากให้มีการจัดการโควิดที่ดีกว่านี้ ร้อยละ 79 ให้ความเห็นว่าสภาวะเศรษฐกิจมีความน่ากลัวว่าโรคโควิด ในขณะเดียวกัน ร้อยละ 73 กล่าวว่า คิดถึงการทำงานในออฟฟิศกับเพื่อนร่วมงานแล้ว และร้อยละ 62 พบว่าตนมีความมั่นใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงานมากกว่าเมื่อก่อนที่จะมีโควิด

โควิดทำให้คนร้อยละ 84 ทั่วโลกต้องใช้บริการดิจิทัล
งานวิจัยดังกล่าวพบว่า โควิดทำให้ร้อยละ 84 ของผู้ร่วมงานวิจัยจากทั่วโลกได้ใช้บริการดิจิทัลแล้วอย่างน้อยหนึ่งบริการ โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 62 ใช้บริการด้านการประชุมออนไลน์ ร้อยละ 41 ในด้านการเรียนออนไลน์ ร้อยละ 38 ใช้บริการด้านการสื่อสารผ่านข้อความออนไลน์ และร้อยละ 32 ในบริการด้านการสั่งอาหารออนไลน์

     คุณ วราภรณ์ เผยว่า “ผู้ร่วมวิจัยชาวไทยมากกว่าร้อยละ 50 เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลประเภท Early Adopter คือเป็นคนแรกๆ ที่จะทดลองใช้เทคโนโลยีก่อนใคร ตามมาด้วยร้อยละ 32 เป็นผู้ที่ต้องการรอให้คนอื่นทดลองใช้ไปก่อนแล้วตนเองจึงค่อยพิจารณาใช้”

     การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนี้รวมถึงการร่วมงานแบบออนไลน์ประเภทต่างๆ ด้วย อาทิ การสัมมนาออนไลน์หรือ Webinar โดยร้อยละ 94 ของคนทั่วโลกที่ร่วมงานวิจัยเผยว่า ตนได้เข้าร่วมกิจกรรมทางธุรกิจแบบออนไลน์แล้วอย่างน้อยหนึ่งประเภท โดยร้อยละ 51 ได้เคยเข้าร่วมงาน Webinar แล้ว ร้อยละ 43 ได้เคยร่วมประชุมแบบออนไลน์แล้ว ด้านผู้ร่วมวิจัยชาวไทยนั้น ร้อยละ 54 ได้เคยเข้าร่วมงาน Webinar แล้ว โดยร้อยละ 9 ได้เข้าร่วมมาแล้วหลายครั้ง

     เมื่อถามว่า หากสถานการณ์โควิดจบลง เทคโนโลยีดิจิทัลจะยังคงมีความสำคัญต่อการร่วมงานแสดงสินค้าหรือไม่ ร้อยละ 71 ของผู้ร่วมวิจัยชาวไทยเผยว่า เทคโนโลยีดิจิทัลที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียน การเก็บข้อมูล การเสริมประสิทธิภาพในการค้นหาสินค้าและผู้จำหน่าย จะยังคงมีความสำคัญแม้หลังสถานการณ์โควิดจบลง

ใช้ดาต้าทำงาน รี้ดฯ สร้างงานเข้าถึงคนทั้งออฟและออนไลน์
     คุณ วราภรณ์ กล่าวว่า “งานวิจัยนี้ทำให้เรามีข้อมูลมาใช้วางแผนการจัดงานในปีที่ผ่านมา เกิดเป็นงานทั้งในรูปแบบ Physical และออนไลน์ โดยงานแสดงสินค้าในรูปแบบ Physical ที่เราสามารถจัดได้ในปีที่ผ่านมาคืองาน เมทัลเล็กซ์ (METALEX) 2020 ซึ่งเราจัดในรูปแบบ Hybrid คือมีทั้งส่วนที่เป็น Physical และ Virtual Event ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานจากวงการโลหะการจำนวน 53,122 ราย มีผู้แสดงสินค้าไทยและผู้แทนในไทยของพาวิลเลี่ยนนานาชาติจาก ญี่ปุ่น ไต้หวัน และ เยอรมนี เข้าร่วม และคาดว่ามีเม็ดเงินสะพัดภายในงานรวมเป็นมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท โดยเราได้บันทึกภาพงานไว้ในลักษณะ 360 องศาด้วย เพื่อเปิดให้นักอุตสาหกรรมลงทะเบียนเข้าชมได้ตลอดทั้งปีไปจนถึงวันที่ 16 พฤศจิกายนที่เว็บไซต์ METALEX: The Virtual https://virtual.metalex.co.th
และในช่วงเดือนธันวาคม 2563 เราได้จัด งาน COSMEX : The Virtual ที่เปิดให้ผู้สนใจเข้าพบปะพูดคุยกับซัพพลายเออร์ด้านเครื่องสำอางได้ตลอดทั้งปีที่ https://virtual.cosmexshow.com ภายงาน Virtual ทั้งสองงานนั้น เรามีการจัดสัมมนาซึ่งถ่ายทอดเป็น Live Stream ขึ้นให้ชมบน Virtual Event และเปิดเป็น On-demand ให้ผู้สนใจทุกท่านเข้าชมเนื้อหาดีๆ กันได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ เรายังจัดสัมมนาในรูปแบบ Physical อีกหนึ่งงาน ได้แก่งาน COSMEX Forum เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 เป็นงานสัมมนาสำหรับวงการเครื่องสำอาง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมากเกินความคาดหมาย

     นอกจากนั้น ในปีที่แล้ว เราได้มีการจัดงาน Webinar ที่เป็น Live Stream และขณะนี้เป็นแบบ
On-demand ให้ทุกท่านเข้าชมกันได้ รวมจำนวน 32 ครั้ง และเรายังได้สร้างการสาธิตสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ในรูปแบบใหม่ที่เราเรียกว่า Online Technology Demonstration อีกสองครั้ง ซึ่งทั้งหมดมียอดผู้เข้าชมรวมแล้วถึง 63,118 ครั้ง”

     คุณ วราภรณ์ กล่าวเสริมว่า “ปีนี้ รี้ด เทรดเด็กซ์ เดินหน้าเตรียมความพร้อมจัดงานแบบ Physical ที่ ไบเทค บางนา จำนวนทั้งสิ้น 11 งาน โดยเราจะจัด 8 งานพร้อมกัน ในระหว่างวันที่ 23 – 26 มิถุนายน เป็นมหกรรมเพื่ออุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมสนับสนุน ชื่องาน แมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป (Manufacturing Expo) 2021 ซึ่งประกอบไปด้วย 5 งานย่อยสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสาขาต่างๆ ได้แก่ อินเตอร์พลาส ไทยแลนด์ (InterPlas Thailand) 2021 สำหรับการผลิตพลาสติก, อินเตอร์โมลด์ ไทยแลนด์ (InterMold Thailand) 2021 เพื่อการผลิตแม่พิมพ์และการขึ้นรูป, ออโตโมทีฟ แมนูแฟกเจอริ่ง (Automotive Manufacturing) 2021 เพื่อการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, แอสเซมบลี แอนด์ ออโตเมชั่น เทคโนโลยี (Assembly and Automation Technology) 2021 งานแสดงระบบอัตโนมัติ และ เซอร์เฟส แอนด์ โค้ตติ้ง (Surface and Coatings) 2021 แสดงเทคโนโลยีการเคลือบพื้นผิวชิ้นส่วนอุตสาหกรรม ส่วนอีกสามงานที่กำหนดจัดขึ้นพร้อมกันได้แก่ เนปคอน ไทยแลนด์ (NEPCON Thailand) 2021 แสดงเทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, งาน แฟ็กเทค (FacTech) 2021 ซึ่งเป็นการเปิดตัวงานใหม่ จัดแสดงเทคโนโลยีการบริหารจัดการโรงงานอุตสาหกรรม และ งาน จีเอฟที (GFT) 2021 แสดงเทคโนโลยีการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนั้น ในวันที่ 25 – 27 สิงหาคม เราจะร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ จัดงาน ไทล็อก - โลจิสติกซ์ (TILOG – LOGISTIX) 2021 งานแสดงผู้ให้บริการและเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ ส่วนในวันที่ 2 – 4 พฤศจิกายน เรากำหนดจัดงาน คอสเม็กซ์ (COSMEX) 2021 งานแสดงเทคโนโลยีและผู้ผลิตเครื่องสำอาง และในวันที่ 17 – 20 พฤศจิกายน เรากำหนดจัดงาน เมทัลเล็กซ์ (METALEX) 2021 งานด้านโลหะการอันดับหนึ่งของอาเซียน

รี้ดฯ พร้อมเสริมความมั่นใจผู้ชมงาน ด้วยตราสัญลักษณ์ SHA
งานวิจัย COVID Customer Mindset and Needs Barometer เผยว่า ชาวไทยส่วนใหญ่มีความมั่นใจในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในระดับปานกลาง โดยร้อยละ 24 ให้คะแนนในระดับ 5 จาก 10 แต่ร้อยละ 19 ให้คะแนนสูงถึง 8 จาก 10 ตามมาด้วยร้อยละ 17 ที่ให้คะแนนระดับ 7

     คุณ วราภรณ์ กล่าวถึงคะแนนความมั่นใจนี้ว่า “เมื่อเห็นคะแนนเช่นนี้แล้ว ในฐานะผู้จัดงานแสดงสินค้า เราถือเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมงานว่า มาตรการการรักษาความปลอดภัยต่างๆ ที่เราเตรียมไว้ให้นั้น จะทำให้เขาเข้าร่วมงานได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยจากโควิด

     “ในการจัดงาน เมทัลเล็กซ์ ปีที่แล้ว เมื่อเราสำรวจความพึงพอใจในการร่วมงานของผู้ชมงานว่า ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เขาพึงพอใจในการชมงาน ผลสำรวจพบว่า มาตรการรักษาความปลอดภัยภายในงานได้รับคะแนนสูงสุดถึงร้อยละ 98 ซึ่งนั่นหมายความว่า มาตรการต่างๆ ที่เราได้เตรียมเอาไว้ป้องกันผู้ร่วมงานจากโควิดนั้น ได้สร้างความมั่นใจให้กับผู้ชมงานในระดับที่สูงมาก

     “และในปีนี้ เราจึงเริ่มเตรียมการแต่เนิ่นๆ โดยทุกงานที่จะจัดขึ้นนี้ได้รับการรับรองเป็นที่เรียบร้อยแล้วจาก โครงการตราสัญลักษณ์มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย หรือ Amazing Thailand Safety & Health Administration หรือที่มีชื่อย่อว่า SHA ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ กระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น ผู้ร่วมงานทุกท่านสามารถเข้าร่วมงานของเราทุกงานได้อย่างมั่นใจว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีและบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจได้ในสภาพแวดล้อมอันปลอดภัยและถูกปกป้องด้วยมาตรการการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดในมาตรฐานระดับโลก ซึ่งบริษัทแม่ของเรา รี้ด เอ็กซ์ฮิบิชั่นส์ ก็ทำงานอย่างไม่หยุดหย่อนที่จะทำให้มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยจากโควิดในงานทุกงานในเครือรี้ดฯ ทั่วโลกนั้นเข้มข้นสูงสุด และได้ออกมาตรการการจัดงานในวิถีใหม่ฉบับที่สองออกมาแล้ว ซึ่งท่านที่สนใจสามารถคลิกเข้าไปอ่านในเว็บไซต์ของทุกงานและในเว็บของบริษัทเราที่ www.reedtradex.com ได้”

รี้ดฯ เตรียมขยายบทบาทเป็น Community Connector
ด้วยความมั่นใจและความต้องการในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ร่วมงาน การเชื่อมต่อระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายจึงเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี ไม่เพียงเฉพาะในช่วงเวลาการจัดงานสามหรือสี่วันเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ รี้ด เทรดเด็กซ์ จึงได้ปรับแผนกลยุทธ์ ขยายบทบาทจากการเป็น Exhibition Organizer สู่การเป็น Community Connector หรือผู้เชื่อมต่อคนในวงการ ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย และเพื่อนในวงการต่างๆ เข้าด้วยกัน

     “เราจะขยายบทบาทเป็น Community Connector หรือผู้สร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจตลอด 365 วัน ผ่านเครื่องมือทั้งแบบ Physical และ Digital ให้เกิดเป็นกิจกรรมทางธุรกิจที่จะเปิดกว้างให้กับคนในวงการจากทั่วทุกมุมโลกมีโอกาสเข้าร่วม”

     ภายใต้คอนเซ็ปท์ Community Connector ประกอบด้วยเครื่องมือหลายรายการที่จะทำงานเสริมและควบคู่กันไป หรือทำงานแยกเดี่ยวในบางคราวก็ได้ ตั้งแต่งานแบบ Physical งานแบบ Virtual การจัด Online Technology Demonstration ไปจนถึงการร่วมงานแบบ Remote Participation “ผู้ที่อาศัยอยู่ต่างประเทศที่ยังไม่สามารถเดินทางมาได้ เราจะจัดให้มีการเข้าร่วมงานแบบ Remote Participation หรือ Remote Booth ที่ถึงแม้ว่าผู้แสดงสินค้าจะเดินทางมาที่ไทยไม่ได้ แต่เขาก็จะมีคูหาภายในงาน และจะมีความพร้อมในการเชื่อมต่อ พูดคุย เจรจาธุรกิจ และเก็บข้อมูลของผู้ซื้อได้ โดยเราจะเป็นผู้เตรียมความพร้อมทุกอย่างให้ ตั้งแต่ผู้แทนการขาย อุปกรณ์การทำ Online Meeting ไปจนถึงแอปพลิเคชั่นที่ใช้เก็บข้อมูลผู้ซื้อที่ผู้แสดงสินค้าสามารถตรวจดูได้ตลอดเวลาว่ามีผู้ซื้อรายไหนแวะมาชมที่บู๊ธและแสดงความสนใจในการเจรจาธุรกิจบ้าง

“นอกจากนั้น ผู้ร่วมงานของเรายังสามารถขยายโอกาสทางธุรกิจและเชื่อมต่อกับคนในวงการโดยไม่มีขีดจำกัดเรื่องการเดินทาง ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของเราได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ผ่าน Virtual Showroom, การจับคู่ทางธุรกิจด้วย AI และ Event Technology ต่างๆ เช่น การนำเทคโนโลยี Digital Incentive มาเสริมโอกาสทางธุรกิจให้ผู้แสดงสินค้าและการเข้าถึงโอกาสดีๆ ให้กับผู้ชมงาน

“เครื่องมือดิจิตอลต่างๆ เป็นการทลายขอบเขตการจัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบเดิมที่จัดขึ้นได้เพียงปีละครั้ง โดยการเป็น Community Connector นี้ เราจะต้องตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่เหมือนกันของแต่ละวงการ ไม่ว่าจะเป็นวงการอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, เครื่องสำอาง, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม หรือวงการโลจิสติกส์

     “ตลอดปีนี้ ผู้ร่วมงานในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เราให้บริการ จะสามารถเข้าถึงคู่ค้า องค์ความรู้ และเครือข่ายทางธุรกิจ ผ่านเวทีและเครื่องมือต่างๆ ของเราได้ตลอดทั้งปี และสามารถเข้าร่วมงานแสดงสินค้าแบบ Physical ทั้ง 11 งานที่เราจะจัดขึ้นภายในปีนี้อย่างมั่นใจในความปลอดภัย และร่วมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย Event Technology ที่เราจะเตรียมไว้ให้กับทุกท่าน” คุณวราภรณ์ ธรรมจรีย์ กล่าวปิดท้าย.




TW-headbar