ซัมซุงเผยกำไรไตรมาส 4 ปี 2024 ต่ำกว่าคาด
10 มกราคม 2568 13:01 น.
กองทัพบกแจ้งเคลื่อนย้าย ยุทโธปกรณ์เข้า กทม. 10 ม.ค. 68 14:01 น.
10 มกราคม 2568 13:01 น.
10 มกราคม 2568 13:01 น.
10 มกราคม 2568 12:01 น.
10 มกราคม 2568 11:01 น.
GPSC เผยผลประกอบการปี 2564 รายได้โต 8% จากการขายไฟฟ้า-ไอน้ำ ป้อนอุตสาหกรรมเพิ่ม ขณะที่กำไรสุทธิลดลงเล็กน้อย 3% ด้วยปัจจัยราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น โชว์รับรู้มูลค่า Synergy 1,633 ล้านบาทเกินแผนที่วางไว้ พร้อมกันนี้ บอร์ดอนุมัติจ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานครึ่งปีหลังอีก 1.00 บาทต่อหุ้น คาดแนวโน้มปี 2565 ความต้องการใช้ไฟฟ้าขยายตัวตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่นโยบายรัฐเร่งส่งเสริมสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าที่หมดอายุสัญญา ทั้ง IPP SPP และส่งเสริมพลังงานทดแทนในโรงไฟฟ้า VSPP มากขึ้น
นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้า กลุ่ม ปตท.เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานปี 2564 ว่า บริษัทฯ มีรายได้รวม 74,874 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับปี 2563 ส่วนกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 7,319 ล้านบาท ลดลง 3% โดยปัจจัยหลักมาจากราคาเชื้อเพลิงตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติและถ่านหินปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม ทำให้กำไรขั้นต้นของโรงไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ลดลง แม้ปริมาณการขายไฟฟ้าและไอน้ำรวมจะเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม รวมถึงมีค่าใช้จ่ายจากการหยุดซ่อมแซมโรงไฟฟ้าโกลว์ พลังงาน ระยะที่ 5 แม้จะได้รับชดเชยจากการประกันภัยบางส่วนแล้วก็ตาม ทั้งนี้ คาดว่าภายในเดือนกุมภาพันธ์โรงไฟฟ้าจะกลับมาเดินเครื่องได้ตามปกติ
นอกจากนี้ กำไรขั้นต้นของโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ปรับตัวลดลง เนื่องจากโรงไฟฟ้าเก็คโค่วัน มีการหยุดซ่อมบำรุง ส่งผลให้รายได้ค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment: AP) ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ได้รับส่วนแบ่งกำไรเพิ่มขึ้นจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี จำนวน 702 ล้านบาท เนื่องจากมีปริมาณน้ำในการผลิตไฟฟ้ามากกว่าปี 2563
“ในปี 2564 บริษัทฯ รับรู้มูลค่า Synergy จากการควบรวมกิจการสุทธิหลังภาษีจำนวน 1,633 ล้านบาท สูงกว่าแผนที่วางไว้โดยส่วนใหญ่ได้รับจากการบริหารจัดการการผลิตและใช้โครงข่ายไฟฟ้าและไอน้ำร่วมกันทำให้สามารถบริหารต้นทุนการผลิตและการขยายฐานลูกค้ารวมถึงการบริหารจัดการงานจัดซื้อและงานซ่อมบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ” นายวรวัฒน์กล่าว
สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 4/2564 บริษัทฯ มีรายได้รวม 22,019 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กำไรสุทธิรวม 1,168 ล้านบาท ลดลง 20% สาเหตุหลักจากต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติและถ่านหินที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้กำไรขั้นต้นของ SPP ลดลง ในขณะที่กำไรของ IPP เพิ่มขึ้น จากรายได้ค่าความพร้อมจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัว และรายได้ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment: EP) ของโรงไฟฟ้าศรีราชาและโกลว์ไอพีพีเพิ่มขึ้นจากการขายไฟฟ้าเข้าระบบให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นรวมถึงการรับรู้รายได้จากการเคลมประกันภัยโรงไฟฟ้า โกลว์พลังงานระยะที่ 5 บางส่วนในไตรมาสนี้
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติให้เสนอจ่ายเงินปันผลประจำปี 2564 ในอัตราหุ้นละ 1.50 บาทหรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ58ของกำไรสุทธิของงบการเงินรวม แบ่งเป็นการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลการดำเนินงานครึ่งแรกของปี 2564 ในอัตราหุ้นละ 0.50 บาท ซึ่งบริษัทฯ ได้จ่ายไปแล้วเมื่อวันที่ 22 กันยายน2564ยังคงเหลือส่วนเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานครึ่งหลังของปี 2564 ที่จะต้องจ่ายในอัตราหุ้นละ 1.00 บาท โดยบริษัทฯ กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 (หรือ XD วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565) และกำหนดวันจ่ายเงินปันผลในวันที่ 20 เมษายน 2565 หลังจากได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2565 แล้ว
สำหรับแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าในปี 2565 ศูนย์วิจัยกรุงศรีประเมินว่า ธุรกิจผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 3.6% ต่อปี ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงนโยบายสนับสนุนการลงทุนภาครัฐตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ(PDP)ที่ส่งเสริมการขยายกำลังการผลิตและการลงทุนโรงไฟฟ้าใหม่ใน3ส่วนหลักดังนี้(1)โรงไฟฟ้าIPPมีแผนสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ที่ทยอยหมดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในช่วงปี 2568 - 2570 (2) โรงไฟฟ้า SPP จะมีโครงการ SPP Replacement เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าเก่าที่หมดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในช่วงปี 2562 –2568ซึ่งจะมีการส่งเสริมขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับการลงทุนใหม่ในเขตพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และ (3) โรงไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กมาก (VSPP) ภาครัฐให้การสนับสนุน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาภาคประชาชน ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ
“ตลอดปี 2564 GPSC ยังคงดำเนินมาตรการป้องกันและการบริหารจัดการได้อย่างเข้มข้น ผ่านศูนย์เฝ้าระวังและติดตามการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส (GPSC G-COVID Center) ทำให้บริษัทฯสามารถดำเนินการผลิตไฟฟ้าไอน้ำ และสาธารณูปโภคได้อย่างมีเสถียรภาพและมีความมั่นคง ตอบสนองความต้องการใช้ของกลุ่มลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องและยังคงดำเนินมาตรการดังกล่าวในปี 2565” นายวรวัฒน์ กล่าว