ซัมซุงเผยกำไรไตรมาส 4 ปี 2024 ต่ำกว่าคาด
10 มกราคม 2568 13:01 น.
กองทัพบกแจ้งเคลื่อนย้าย ยุทโธปกรณ์เข้า กทม. 10 ม.ค. 68 14:01 น.
10 มกราคม 2568 13:01 น.
10 มกราคม 2568 13:01 น.
10 มกราคม 2568 12:01 น.
10 มกราคม 2568 11:01 น.
“กรมเจ้าท่า” เดินหน้าปรับหลักสูตรเร่งผลิตบุคลากรพาณิชย์นาวี ทั้งระดับลูกเรือและเจ้าหน้าที่เดินเรือ
เพิ่มทักษะ รักษามาตรฐาน เกณฑ์สากล เสริมหลักสูตรเร่งด่วน หลักสูตรระยะยาว สร้างทักษะความชำนาญ การเดินเรือเฉพาะทาง สอดรับประเภทเรือที่หลากหลาย เรือเดินสมุทร เรือลำเลียง เรือโดยสารขนาดเล็ก- ใหญ่ และเรือเฟอร์รี่ รับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศขยายตัว สอดรับนโยบายกระทรวงคมนาคม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมขนส่งทางน้ำไทยเติบโตยั่งยืน
นายสมชาย สุมนัสขจรกุล รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านวิชาการ เปิดเผยว่า กรมเจ้าท่าได้เร่งแผนขับเคลื่อนการยกระดับ และผลิตบุคลากรด้านพาณิชย์นาวีให้เพียงพอกับตลาดการเดินเรือที่สอดรับกับ อัตราการเติบโตของระบบขนส่ง ทางน้ำทั้งในและต่างประเทศโดยการยกระดับด้านคุณภาพของบุคลากรเดินเรือให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์กฎการเดินเรือสากล ซึ่งมีการปรับมาตรฐานให้มีเกณฑ์ที่สูงขึ้น เพื่อให้การเดินเรือมีความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีฐานการผลิตบุคลากรพาณิชย์นาวีที่มีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับในด้านการพัฒนาบุคลากรที่มีมาตรฐานมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการดำเนินการภายใต้แผนปีงบประมาณ 2565 กรมเจ้าท่าได้มีการจัดฝึกอบรมคนเรือ เจ้าหน้าที่เดินเรือ และปรับปรุงหลักสูตรผลิตบุคลากรด้านพาณิชย์นาวี ให้เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานสากลในหลายรุ่น ซึ่งมั่นใจว่าพร้อมรองรับกับตลาดแรงงาน และมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนกิจการพาณิชย์นาวี ทั้งด้านการฝึกอบรม และเพิ่มวิทยฐานะของคนประจำเรือทุกระดับชั้นให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลตามอนุสัญญา STCW 2010
“จากนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กำหนดนโยบายในการเร่งพัฒนาและผลิตบุคลากรให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนงบประมาณปี 2565 เพราะขณะนี้มีความต้องการบุคลากรด้านพาณิชย์นาวีเป็นจำนวนมาก ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีเป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมเจ้าท่า ที่จะมีหน้าที่ผลิตคนประจำเรือทุกระดับชั้น นายประจำเรือ ให้มีคุณภาพและเพียงพอเพื่อสนับสนุนกิจการพาณิชย์นาวี ให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง”นายสมชายกล่าว
สำหรับแผนการพัฒนา บุคลากรด้านพาณิชย์นาวีได้ดำเนินการในหลักสูตรที่สำคัญ ประกอบด้วย
1.หลักสูตรปริญญา หลักสูตรที่ 1 เป็นการเปิดหลักสูตรสำหรับลูกเรือ ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ ทั้งลูกเรือฝ่ายเดินเรือและลูกเรือฝ่ายช่างกล ทำการฝึกอบรมเวลา 3 เดือน โดยในปีนี้คาดว่าจะเป็นตามเป้าหมายที่สามารถฝึกอบรมครบทั้ง 6 รุ่น ได้ 300 คน โดยได้รับความสนใจจากลูกเรือเข้ามาสมัครฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง
2. หลักสูตรปริญญา หลักสูตรที่ 2 เป็นหลักสูตรระยะยาว ได้แก่ หลักสูตรวิทยาการเดินเรือ และหลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลเรือ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีมีแผนการดำเนินงานรับนักศึกษาที่จะเข้าใหม่ในปี 2565 จำนวน 200 คน ได้แก่ ฝ่ายเดินเรือ ประมาณ 120 คนและฝ่ายห้องเครื่อง ประมาณ 80 คน เพื่อให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงาน 5 ปี ที่จะมีจำนวนบุคลากรด้านพาณิชย์นาวี ที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมการเดินเรือได้เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน
3. การสอบตั๋วของลูกเรือและเจ้าหน้าที่เดินเรือ ได้ดำเนินการลดขั้นตอนต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกกับลูกเรือ และเจ้าหน้าที่เดินเรือมากขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่างได้รับความร่วมมือจากศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีร่วมกับกองมาตรฐานคนประจำเรือ กรมเจ้าท่า ที่ทำการลดขั้นตอนในกระบวนการออกตั๋ว แต่ยังคงรักษามาตรฐานการเดินเรือไว้อย่างเข้มงวด เพื่อให้นักเรียนที่จบสามารถเข้าทำงานได้ หรือขอรับประกาศนียบัตรก่อนปฏิบัติหน้าที่ในเรือ ซึ่งในปี 2565 จะสามารถออกตั๋วรับรองคนเรือและลูกเรือได้มากกว่า 130-140 คน เพิ่มขึ้น40% ทั้งนี้ หากสายการเดินเรือมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวีจะผลิตหลักสูตร แบบ non-degree ไม่จบปริญญาตรี แต่จะได้รับประกาศนียบัตร และมีระยะเวลาการเรียนสั้นกว่าประมาณ 2 ปี คาดว่าจะผลิตบุคลากรด้านพาณิชย์นาวีได้อีกประมาณ 40-50 คน
4. การยกระดับวิทยฐานะคนประจำเรือ โดยจัดให้มีการนำหลักสูตรอบรมระยะสั้น เพื่ออำนวยความสะดวกคนเรือที่ต้องกลับมาฝึกอบรม ยกระดับวิทยฐานะได้สะดวกรวดเร็ว และใช้เวลาฝึกอบรมที่สั้นลง และมีความพร้อมปฏิบัติหน้าที่ คาดว่าปีนี้จะมีการอบรมและรับรองวิทยฐานะได้ ประมาณ 5,000 ใบ ซึ่งเป็นไปตามแผนที่วางไว้
อย่างไรก็ตามศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ยังได้ร่วมมือกับสถาบันต่างๆ รวมถึงพันธมิตร และสถานประกอบแรงงานต่างประเทศ ในการนำงานวิจัยด้านพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อเป็นสถาบันหลักในการผลิตนักเดินเรือของประเทศไทยตามแผน 5 ปี ที่จะทำให้คนเรือของไทยมีทักษะและมาตรฐานที่สูงขึ้น และเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในและต่างประเทศจากความหลากหลายของประเภทเรือ ที่มีการให้บริการต้องอาศัยทักษะเฉพาะทางมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรือลำเลียง เรือโดยสาร เรือโดยสารขนาดใหญ่ เรือเฟอร์รี่ ซึ่งเป็นแนวทางการส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับประเทศ และสร้างความปลอดภัยในการสัญจรทางน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนกิจการพาณิชย์นาวีให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างยั่งยืน.