ซัมซุงเผยกำไรไตรมาส 4 ปี 2024 ต่ำกว่าคาด
10 มกราคม 2568 13:01 น.
กองทัพบกแจ้งเคลื่อนย้าย ยุทโธปกรณ์เข้า กทม. 10 ม.ค. 68 14:01 น.
10 มกราคม 2568 13:01 น.
10 มกราคม 2568 13:01 น.
10 มกราคม 2568 12:01 น.
10 มกราคม 2568 11:01 น.
“พิพัฒน์” ตั้งธง 5 ปี ยกระดับพื้นที่พิเศษฯ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา สู่ต้นแบบการท่องเที่ยวยั่งยืน พัฒนามาตรฐานและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของพื้นที่ เตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ ที่มาพร้อมกับการเติบโตของเศรษฐกิจ จากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ และกรอบความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ IMT-GT
วันที่ 21 กันยายน 2565 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี (ICC HAT YAI) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประธานในพิธีเปิดกิจกรรมขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างการรับรู้และส่งเสริมการตลาดด้านการท่องเที่ยวพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา “มหัศจรรย์แห่งวิถีลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา สู่การเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดโดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. พร้อมได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยสรุปว่า พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีศักยภาพสูงทั้งด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต รวมทั้งมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้นักท่องเที่ยว สามารถพัฒนาและขับเคลื่อนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบที่มีการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะดึงดูดและรองรับการเดินทางมาเยือนของนักท่องเที่ยวระดับคุณภาพสูง
หลังจากได้ผลักดันให้คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ หรือ ท.ท.ช. มีการประกาศพื้นที่พิเศษ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 และได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565 จึงได้มอบหมายให้ อพท. เป็นหน่วยงานประสานความร่วมมือกับทุกภาคีเครือข่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และชุมชนในพื้นที่ ร่วมกันดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษฯ เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวได้ใช้ทรัพยากรบุคคล งบประมาณ และอำนาจหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ทั้งด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ผังเมือง การรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การสาธารณสุข การรักษาความสะอาด และความปลอดภัย อีกทั้ง อพท. จะได้มีโอกาสเข้ามาร่วมพัฒนาเพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่ากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยมีแผนปฏิบัติการในการบริหารจัดการการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและเป็นกลไกในการขับเคลื่อนร่วมกัน
การพัฒนาพื้นที่พิเศษฯ แห่งนี้ จะเป็นไปเพื่อการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวให้กับแหล่งท่องเที่ยว และประชาชนคนในพื้นที่ให้มีมาตรฐานการจัดการแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานสากล ตามหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria หรือ GSTC) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ อพท. นำมาใช้กับการพัฒนาเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นการพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมในการรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตามกรอบความร่วมมือโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย หรือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle : IMT-GT ที่มีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่นานาชาติ 5 จังหวัด คือ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะได้รับผลประโยชน์จากการเชื่อมโยงการพัฒนากับระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ตามนโยบายรัฐบาล หรือ Southern Economic Corridor (SEC) โดยการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวถือเป็นนโยบายระดับชาติ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาชุมชน กระจายรายได้ และลดช่องว่างทั้งในมิติสังคมและเศรษฐกิจ
ทั้งนี้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) จะขับเคลื่อนผ่าน 5 ยุทธศาสตร์ ภายใต้การดำเนินงานกว่า 270 โครงการ และกระจายงบประมาณไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อใช้ในการเสนอขอตั้งงบประมาณรวมกว่า 5 พันล้านบาท