ซัมซุงเผยกำไรไตรมาส 4 ปี 2024 ต่ำกว่าคาด
10 มกราคม 2568 13:01 น.
กองทัพบกแจ้งเคลื่อนย้าย ยุทโธปกรณ์เข้า กทม. 10 ม.ค. 68 14:01 น.
10 มกราคม 2568 13:01 น.
10 มกราคม 2568 13:01 น.
10 มกราคม 2568 12:01 น.
10 มกราคม 2568 11:01 น.
“พิพัฒน์” ยกให้ “เกาะหมาก” เป็นเกาะต้นแบบของประเทศไทย ตอบนโยบาย BCG ชูจุดเด่นเรื่อง การจัดการขยะ และความปลอดภัย ด้าน อพท. เร่งสปีด เฟ้นหานางงาม เล็งส่งแหล่งท่องเที่ยวชิง Green Destinations Top 100 Stories ต่อเนื่อง
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยในโอกาสที่ได้แสดงความยินดีและส่งมอบมอบตราสัญลักษณ์ เกาะหมาก จังหวัดตราด แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่ง ของโลก (2022 Green Destinations Top 100 Stories ) ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า จากการมอบนโยบายให้ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ไปดำเนินการขับเคลื่อนตามนโยบายการท่องเที่ยวสีขาวภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาล เพื่อมุ่งเน้นเป้าหมายนักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพมากกว่าปริมาณ โดยให้ความสำคัญกับมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
การทำหน้าที่เป็นหน่วยงานพัฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จึงเป็นโจทย์ให้ อพท. จะต้องคิดว่า จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างไร ให้สามารถสร้างรายได้ กระจายรายได้ ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการที่ดี เพื่อลดผลกระทบด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นที่มาของการพัฒนาและยกระดับ เกาะหมาก ตามแนวทางของเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ GSTC ให้มีความสะอาด สะดวก และปลอดภัย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว ในวันนี้ อพท. สามารถยกระดับเกาะหมาก ให้เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล ได้รับเลือกเป็น 1 ในแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก ประจำปี 2565 นับเป็นความสำเร็จที่มีคุณค่า เพราะเป็นเวทีที่มีหลากหลายประเทศจากทั่วโลกส่งแหล่งท่องเที่ยวเข้าประกวด เกาะหมากจึงเป็นเกาะต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทย ในด้านความปลอดภัย และมีแนวทางในการจัดการขยะ คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกาะหมากได้รับการคัดเลือก
นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ อพท. ยังได้กล่าวเสริมว่า การได้รับการประกาศให้เป็น Green Destinations Top 100 Stories เป็นการค้นหา Good Practice ด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน มีเป้าหมายเพื่อนำเสนอเรื่องราวความสำเร็จและแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อให้องค์กรจัดการท่องเที่ยวทั่วโลกนำไปประยุกต์ใช้ในภารกิจการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของตัวเอง สำหรับ อพท. เป็นผู้กำหนดเป้าหมายการทำงาน ที่สะท้อนความสำเร็จของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง อพท. และภายใต้แผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในหลายพื้นที่พิเศษฯ
ในปีงบประมาณ 2566 อพท. จะเพิ่มความเข้มข้นของการพัฒนาในพื้นที่เดิมที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา 15 ข้อ และได้รับการรับรอง Green Destinations Top 100 Stories ไปแล้ว เพื่อมุ่งเข้าสู่การได้รับคัดเลือกเป็น Green Destinations ซึ่งจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมินครบทั้ง 30 ข้อ จึงนับเป็นบันไดที่ท้าทาย อพท. ที่ต้องดำเนินการให้สำเร็จ นอกจากนั้น ยังเตรียมมองหาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพที่อยู่ในพื้นที่พิเศษ เพื่อพิจารณาส่งเข้ารับการคัดเลือก Green Destinations TOP 100 Stories โดยในปีนี้กำลังศึกษาศักยภาพ และเตรียมความพร้อมที่จะผลักดันแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งมีความโดดเด่นทางด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เข้าสู่การพิจารณา
อย่างไรก็ตาม อพท. ยังเตรียมขยายผล จัดทำคู่มือการนำแหล่งท่องเที่ยวเข้าสู่ระบบรับรองมาตรฐาน Green Destinations Standard เพื่อนำไปสู่ระบบการรับรอง Green Destinations Top 100 Stories อย่างเป็นระบบ และสามารถใช้ประโยชน์จากโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ให้ขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้นต่อไป