สว.เรียกร้องนายกรัฐมนตรีต้องไม่เพิกเฉย กรณี นักการเมืองฝ่ายค้าน กัมพูชา ถูกยิงเสียชีวิตที่…
8 มกราคม 2568 10:01 น.
สถานการณ์ฝุ่น pm2.5 วันนี้เกินค่ามาตรฐานหลายพื้นที่ 8 ม.ค. 68 11:01 น.
8 มกราคม 2568 10:01 น.
8 มกราคม 2568 09:01 น.
7 มกราคม 2568 13:01 น.
7 มกราคม 2568 13:01 น.
เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2566 ที่โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์
รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า น้ำ เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหาร
เกือบ 2.5 พันล้านคนทั่วโลก เผชิญวิกฤตขาดแคลนน้ำสะอาด ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรและอาหารอย่างรุนแรง แนวคิดที่ว่า “Water is life, Water is Food, Leave No One Behind” เนื่องในวันอาหารโลก 2566
จึงเป็นเป้าหมายที่สหประชาชาติให้ความสำคัญ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) สานพลัง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาติ (FAO) จัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน อิ่มและดี 2030 เพื่อร่วมขับเคลื่อนการทำงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่มุ่งเป้าให้เกิดระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืนในอนาคต
“การเพิ่มของประชากร การขยายเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง เป็นความท้าทายที่ส่งผลต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำและมีผลกระทบต่อภาคการเกษตรและอาหาร
การประชุมครั้งนี้ มุ่งสร้างความร่วมมือผลักดันนโยบายการจัดการระบบอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ เตรียมพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติ ทั้งอุทกภัยและภัยแล้งจากสถานการณ์เอลนีโญ ที่คาดการณ์ว่ากำลังจะเกิดขึ้นไปจนถึง ปี 2568 โดยเฉพาะจะต้องมีการป้องกัน การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำตลอดทั้งทรัพยากรดิน การเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บคาร์บอนในดิน การใช้เทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรมการจัดการโรคพืช การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชและปศุสัตว์ที่ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ตลอดจนการลดการสูญเสียอาหาร และขยะอาหาร สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยพลังขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน” นายเศรษฐเกียรติ กล่าว
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส. สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาต้นแบบระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยสานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ ภายใต้วัตถุประสงค์หลัก 3 ข้อ 1.ส่งเสริมให้เกิดความรอบรู้และบูรณาการความร่วมมือหนุนเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะด้วยระบบอาหารที่ยั่งยืน ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต 2.ส่งเสริมระบบตลาดอาหารปลอดภัยในชุมชน สร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน ชุมชน 3.ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ สื่อสารรณรงค์สังคม
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ