รถไฟจีนขนส่งพัสดุเทศกาลชอปปิง 11.11 แตะ 73,000 ตัน
22 พฤศจิกายน 2567 13:11 น.
ฟิลิปปินส์เริ่มสร้างฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่สุดในประเทศ 22 พ.ย. 67 14:11 น.
22 พฤศจิกายน 2567 13:11 น.
22 พฤศจิกายน 2567 13:11 น.
22 พฤศจิกายน 2567 12:11 น.
22 พฤศจิกายน 2567 11:11 น.
เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เยี่ยมชมหน่วยวิจัยไวรัสวิทยากำแพงเพชร หนึ่งในตัวอย่างความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และสหรัฐ ที่สร้างประโยชน์ต่อชีวิตของประชาชนคนไทยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้านสาธารณสุข
ในระหว่างที่ ฯพณฯ โรเบิร์ต เอฟ โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลกำแพงเพชร และ หน่วยวิจัยไวรัสวิทยากำแพงเพชร แพทย์หญิงดรุณี พุทธารี หัวหน้าหน่วยวิจัยไวรัสวิทยากำแพงเพชร ได้อธิบายการทำงานของหน่วยงานว่า หน่วยวิจัยไวรัสวิทยากำแพงเพชร แผนกไวรัสวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กรมแพทย์ทหารบก หรือ KAVRU (Kamphaeng Phet AFRIMS Virology Research Unit) เป็นหน่วยงานที่ เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขของไทย กับ สถาบันวิจัยกองทัพบกวอลเตอร์รีด-สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (WRAIR-AFRIMS) ของรัฐบาลสหรัฐ และโรงพยาบาลจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อหาทางพัฒนาด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยเฉพาะโรคเขตร้อน
เมื่อ พ.ศ. 2523 หน่วยวิจัยไวรัสวิทยากำแพงเพชร เริ่มดำเนินโครงการวิจัยเกี่ยวการวินิจฉัยหลังเกิดปัญหาโรคระบาดไข้สมองอักเสบเจอี ในจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเกิดจากไวรัส Japanese encephalitis โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค จึงเริ่มโครงการศึกษาวิจัยวัคซีนไวรัสป้องกันไข้สมองอักเสบเจอี เมื่อปี 2527-2532 นอกจากนั้น ยังได้ศึกษาวิจัยประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันตับอักเสบ A และวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ผลจากการศึกษาดังกล่าวประสบความสำเร็จจนนำไปสู่การขึ้นทะเบียนวัคซีนทั้ง 3 ชนิด โดยวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี ได้รับการขึ้นทะเบียนและอยู่ในโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ช่วยให้อัตราการป่วย และเสียชีวิตจากโรคไข้สมองอักเสบเจอี ลดลงอย่างชัดเจน ส่วนวัคซีนป้องกันตับอักเสบ A ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัคซีนที่ใช้ได้ทั่วโลก ขณะที่วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก (Dengvaxia®) ได้รับการขึ้นทะเบียนและมีใช้ในประเทศไทย
ปัจจุบัน หน่วยวิจัยไวรัสวิทยากำแพงเพชร มีโครงการวิจัยที่ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 8 คือ โครงการ KFCS การถ่ายทอดการติดเชื้อโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน ในจังหวัดกำแพงเพชร ประเทศไทย โดยเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2558 มีชาวบ้านในพื้นที่ให้ความร่วมเป็นอาสาสมัครเพื่อการติดตามทางภูมิต้านทาน และตรวจหาการติดเชื้อ ร่วมรณรงค์ป้องกันยุงลายซึ่งเป็นพาหะ จำนวน 3,500 คน รวมกว่า 500 ครัวเรือน ถือเป็นโครงการวิจัยในกลุ่มครอบครัวโครงการแรกของประเทศไทย โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา และโครงการวิจัยโรคติดเชื้อกองทัพบก สหรัฐอเมริกา
นางสมควร โม้ป้อ วัย 44 ปี ซึ่งเป็น 1 ในอาสาสมัคร เผยว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้รับข้อมูลอย่างชัดเจนจากหน่วยวิจัยไวรัสวิทยากำแพงเพชร รวมทั้งคณะแพทย์ จึงเกิดความมั่นใจในความปลอดภัย และตัดสินใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งยังได้รับการดูแลจากคณะแพทย์ในโครงการเป็นอย่างดี โดยเกือบ 9 ปีที่ผ่านมา ได้รับการตรวจเลือดปีละ 1 ครั้งเพื่อตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสไข้เลือดออก แพทย์โทรมาสอบถามสุขภาพสัปดาห์ละ 1 ครั้ง อีกทั้งยังสามารถโทรติดต่อทางโครงการได้ตลอดเวลา เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วย
นอกจากนี้ หน่วยวิจัยไวรัสวิทยากำแพงเพชร ยังได้รับทุนสนับสนุนจาก โครงการเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่ กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดใหญ่อินฟลูเอนซ่า และไวรัสทางเดินหายใจ ดำเนินการเฝ้าระวังการป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจในผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของโรงพยาบาลกำแพงเพชร ด้วย
ด้านเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ไทยและสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์แนนแน่น ยาวนานกว่า 190 ปี หยั่งรากลึกทั้งในระดับภาคประชาชน และประเทศ หลากมิติทั้งด้านการค้า ความมั่นคง และการแลกเปลี่ยนกันในภาคประชาขน แต่ที่สำคัญคือ ความร่วมมือกันในด้านสาธารณสุข และการวิจัยด้านการแพทย์ ที่หน่วยงานของทั้ง 2 ประเทศดำเนินการร่วมมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 40 ปี ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นคุณูปการต่อประชาชนชาวไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติด้วย