รถไฟจีนขนส่งพัสดุเทศกาลชอปปิง 11.11 แตะ 73,000 ตัน
22 พฤศจิกายน 2567 13:11 น.
ฟิลิปปินส์เริ่มสร้างฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่สุดในประเทศ 22 พ.ย. 67 14:11 น.
22 พฤศจิกายน 2567 13:11 น.
22 พฤศจิกายน 2567 13:11 น.
22 พฤศจิกายน 2567 12:11 น.
22 พฤศจิกายน 2567 11:11 น.
ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่นำโดยผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันฟิสิกส์ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ค้นพบแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยน้ำในโครงสร้างโมเลกุล ในตัวอย่างดินดวงจันทร์ที่ยานสำรวจดวงจันทร์ฉางเอ๋อ-5 (Chang’e-5) นำกลับมาสู่โลก โดยประกอบด้วยผลึกน้ำมากถึง 6 โมเลกุล
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า หลักฐานหลายชิ้นชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่ของน้ำหรือน้ำแข็งบนพื้นผิวดวงจันทร์ แต่มีแนวโน้มว่าน้ำและน้ำแข็งอาจจะอยู่ในรูปแบบของหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl group) มากกว่า
การศึกษาที่เผยแพร่ลงในวารสารเนเจอร์ แอสโทรโนมี (Nature Astronomy) เมื่อไม่นานนี้ แสดงให้เห็นว่าโมเลกุลน้ำในตัวอย่างดินดวงจันทร์นั้นมีน้ำหนักมากถึงราวร้อยละ 41 ของมวลทั้งหมด ซึ่งบ่งชี้ถึงการตรวจจับโมเลกุลน้ำภายในเรโกลิธ (regolith) บนดวงจันทร์ได้โดยตรงเป็นครั้งแรก และช่วยไขกระจ่างถึงการมีโมเลกุลน้ำและแอมโมเนียม (ammonium) อยู่จริงบนพื้นผิวดวงจันทร์
การศึกษาเผยว่าโครงสร้างและองค์ประกอบของแร่ธาตุดังกล่าวคล้ายคลึงกับแร่ธาตุที่เคยพบใกล้ภูเขาไฟบนโลกอย่างมาก ซึ่งสามารถตัดความเป็นไปได้ว่าสิ่งปนเปื้อนหรือไอเสียจากจรวดบนพื้นผิวดวงจันทร์เป็นต้นกำเนิดของสารประกอบที่มีโมเลกุลของน้ำอยู่นี้
การค้นพบครั้งนี้เผยถึงรูปแบบความเป็นไปได้อย่างหนึ่งที่บนพื้นผิวดวงจันทร์จะมีโมเลกุลของน้ำอยู่ นั่นคือการอยู่ในรูปแบบของเกลือไฮเดรต (hydrated salts) ซึ่งแร่ธาตุที่มีโมเลกุลของน้ำประกอบเหล่านี้มีความเสถียรมากในบริเวณพื้นที่สูงของดวงจันทร์ ถึงแม้ในพื้นที่นั้นมีแสงแดดส่องถึงก็ตาม
คณะนักวิจัยกล่าวว่าการค้นพบครั้งนี้เปิดโอกาสใหม่ๆ สำหรับการพัฒนาและการใช้ทรัพยากรน้ำบนดวงจันทร์เพิ่มเติมในอนาคต ทั้งนี้ จีนตั้งเป้าจะสร้างแบบจำลองพื้นฐานของสถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติภายในปี 2035 ซึ่งการใช้ทรัพยากรจากบนดวงจันทร์จะช่วยวางรากฐานสำหรับการก่อสร้างสถานีบนดวงจันทร์ได้ในระยะยาว