รถไฟจีนขนส่งพัสดุเทศกาลชอปปิง 11.11 แตะ 73,000 ตัน
22 พฤศจิกายน 2567 13:11 น.
ฟิลิปปินส์เริ่มสร้างฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่สุดในประเทศ 22 พ.ย. 67 14:11 น.
22 พฤศจิกายน 2567 13:11 น.
22 พฤศจิกายน 2567 13:11 น.
22 พฤศจิกายน 2567 12:11 น.
22 พฤศจิกายน 2567 11:11 น.
คลิปวิดีโอล่าสุดที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวจง (HUST) ส่งให้สำนักข่าวซินหัว เผยให้เห็นว่าทีมวิจัยที่นำโดยติง เลี้ย อวิ๋น ใช้ดินดวงจันทร์แบบจำลองในการสร้าง “อิฐดวงจันทร์” ที่มีความแข็งแรงมากกว่าอิฐแดงหรืออิฐคอนกรีตมาตรฐานถึงสามเท่า โดยทีมวิจัยยังได้พัฒนาวิธีการสร้างอื่นๆ ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ และประดิษฐ์หุ่นยนต์พิมพ์ 3 มิติ เพื่อพิมพ์บ้านโดยใช้ดินดวงจันทร์
โจว เฉิง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฯ เปิดเผยว่าทีมวิจัยได้ใช้ดินดวงจันทร์จำลอง 5 ชนิดและกระบวนการเผาผนึก (Sintering) 3 แบบ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่แม่นยำยิ่งขึ้นในการคัดเลือกวัสดุและการปรับปรุงกระบวนการสำหรับการสร้างฐานบนดวงจันทร์ในอนาคต
โจวระบุว่าองค์ประกอบของดินดวงจันทร์แตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่บนดวงจันทร์ โดยมีองค์ประกอบหนึ่งที่ได้จำลองดินบนดวงจันทร์ ณ จุดลงจอดของยานภารกิจฉางเอ๋อ-5 (Chang’e-5) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ (basalt) ขณะที่องค์ประกอบอื่นๆ บางส่วนจำลองจากดินที่พบในสถานที่อื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินอะนอโทไซต์ (anorthosite)
โจอธิบายว่าอิฐดังกล่าวจะต้องผ่านการทดสอบประสิทธิภาพ เพื่อตรวจสอบว่าสมรรถนะเชิงกล (mechanical performance) ของอิฐจะลดลงในสภาพแวดล้อมบนดวงจันทร์หรือไม่ และสามารถทนต่อแผ่นดินไหวบนดวงจันทร์ที่มีความถี่สูงได้หรือไม่
ดวงจันทร์มีสภาพแวดล้อมสุญญากาศ ซึ่งมีรังสีคอสมิกจำนวนมาก และมีอุณหภูมิสูงเกิน 180 องศาเซลเซียสในช่วงข้างขึ้น และลดลงเหลือ -190 องศาเซลเซียสในช่วงข้างแรม โดยโจวระบุว่าทีมวิจัยต้องตรวจสอบว่าอิฐสามารถกันความร้อนได้ดีเพียงใด และสามารถทนต่อรังสีได้หรือไม่
ไชน่า เซ็นทรัล เทเลวิชั่น (China Central Television) รายงานว่าจะมีการส่งอิฐดวงจันทร์ดังกล่าวไปยังสถานีอวกาศของจีนโดยยานขนส่งสินค้าเทียนโจว-8 (Tianzhou-8) เพื่อตรวจสอบสมรรถนะเชิงกลและสมรรถนะทางความร้อน ตลอดจนตรวจสอบความสามารถในการทนต่อรังสีคอสมิก โดยคาดว่าจะส่งอิฐดวงจันทร์ก้อนแรกกลับคืนสู่โลกภายในสิ้นปี 2025
เมื่อวันอังคาร (15 ต.ค.) จีนได้เผยแพร่แผนงานพัฒนาวิทยาศาสตร์อวกาศแห่งชาติในระยะกลางถึงระยะยาว โดยได้ร่างแนวทางสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์อวกาศในจีนไปจนถึงปี 2050 ขณะที่สถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ ซึ่งริเริ่มโดยจีน จะมีการสร้างขึ้นในระยะที่ 2 ของโครงการในช่วงปี 2028-2035.