โรงเรียนนายร้อยตํารวจ มีคำสั่ง อาจารย์ล่วงละเมิด หยุดปฎิบัติหน้าที่
21 พฤศจิกายน 2567 13:11 น.
เตือนพายุไซโคลนบอมบ์ถล่มชายฝั่งแปซิฟิกสหรัฐ 21 พ.ย. 67 13:11 น.
21 พฤศจิกายน 2567 13:11 น.
21 พฤศจิกายน 2567 11:11 น.
21 พฤศจิกายน 2567 10:11 น.
21 พฤศจิกายน 2567 09:11 น.
ตัวแทนระดับสูงจากทั่วโลกสร็จสิ้นการหารือในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติสมัยที่ 29 หรือ คอป29 ซึ่งยังคงดำเนินอยู่ที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน โดยยังเห็นต่างเรื่องงบแก้โลกร้อน
บรรดาผู้นำและตัวแทนจากประเทศและดินแดนประมาณ 80 แห่งร่วมการประชุมระดับสุดยอดเป็นเวลา 2 วัน ระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา วาระสำคัญคือการกำหนดเป้าหมายใหม่สำหรับปี 2025 และการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาต่อสู้กับภาวะโลกร้อน โดยผู้นำจากประเทศกำลังพัฒนา และประเทศเกาะขนาดเล็กต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกร้องให้เพิ่มงบประมาณอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 3.4 ล้านล้านบาท ตามข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ต้องมีการลงขันกันภายในปี 2035 แต่สมาชิกสหภาพยุโรปและประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ ระบุถึงความจำเป็นในการขยายฐานผู้สนับสนุน และเรียกร้องให้เศรษฐกิจเกิดใหม่ช่วยแบกรับต้นทุนด้วยเช่นกัน ขณะที่จีนและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่น ๆ เรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วจ่ายเงินก่อน ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมจะเจรจาต่อไป เพื่อรับรองแถลงการณ์ผลการประชุมในวันที่ 22 พฤศจิกายน
ด้านตัวแทนเจรจาของสหภาพยุโรป ยอมรับว่าที่ประชุมยังเห็นต่างในเรื่องของงบประมาณค่อนข้างมาก แต่ยืนยันว่าชาติสมาชิกอียู โดยเฉพาะเยอรมนี ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ยังคงเป็นแกนนำในการผลักดันข้อตกลงและนโยบายด้านการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก แม้ผู้นำอียูหลายประเทศจะไม่ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดในเวทีคอป 29 ปีนี้ก็ตาม
ขณะที่นายอันโตนิโอ กูแตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ หรือยูเอ็น บอกว่าประเทศเกาะเล็ก ๆ มีสิทธิ์เต็มที่ที่จะไม่พอใจ เนื่องจากได้รับผลกระทบหนักจากปัญหาโลกร้อน ระบุ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 20 ประเทศ หรือจี20 ปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณร้อยละ 80 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมและจะต้องจบลง ส่วนประธานาธิบดี อิลฮาม อาลิเยฟ ของอาเซอร์ไบจาน ประเทศเจ้าภาพประชุมคอป29 ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ประเทศหมู่เกาะของฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ที่เป็นดินแดนโพ้นทะเลในปกครองของ 2 ประเทศ ได้รับผลกระทบหนักเป็นพิเศษจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ